หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน

จิตวิทยาการศึกษา
            จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
            จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา    เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
            1.  ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
            2.  ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้   เพราะ จะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
            3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว     นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
            4.  ทฤษฎีการเรียนรู้  นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ    ผู้เรียน  เช่น แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
            5.  ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
            6.  หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษย์นิยม 
            7.  หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของแต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่   เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
            8.  การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู
            วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
            1.  ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
            2.  ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
            3.  ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
            4.  ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
            5.  ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
            6.  ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
            7.  ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
            8.  ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีการที่มีประสิทธิภาพ
            9.ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
            10.  ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
การจูงใจ (Motivation)  
          การจูงใจ คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งส่งเสริมให้เด็กทำงานจนบรรลุถึงความสำเร็จ และแรงนี้ย่อมนำทางให้เด็กทำงานไปในแนวที่ถูกต้องตามแนวที่ต้องการเป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง
            แรงจูงใจ  แบ่งออกเป็น 3 ประการดังนี้
            1.  แรงจูงใจทางร่างกาย (Physiological Motives) เกิดจากความต้องการทางร่างกาย มีความหิว ความกระหาย การขับถ่าย การพักผ่อน ตลอดจนความต้องการทางเพศ เด็กแรกเกิดมักจะมีพฤติกรรมที่เนื่องมาจากแรงจูงใจทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่
            2.  แรงจูงใจทางสังคม (Social Motives)  เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้ (Learning)  เช่น ความต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ ทรัพย์สิน อำนาจ ความพึงพอใจ การพักผ่อนหย่อนใจ การแสวงหาความสนุกสนาน
            3.  แรงจูงใจส่วนบุคคล (Personal Motives)  เป็นแรงจูงใจที่พัฒนาขึ้นในตัวบุคคล  ซึ่งแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป   แรงจูงใจส่วนบุคคลนี้มีรากฐานมาจากความต้องการทางร่างกายและความต้องการทางสังคมประกอบกัน เช่น จะออกมาในรูปของการสะสมต่างๆ เช่น  การสะสมแสตมป์  การสะสมที่ดิน  การออมทรัพย์ เป็นต้น
ประเภทของการจูงใจ 
            นักจิตวิทยาแบ่งการจูงใจเป็น 2 ประเภทดังนี้
            1.   การจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation)   ได้แก่  ความต้องการ  ความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  ตลอดจนการที่มีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากตัวบุคคลโดยตรง
            2.  การจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation) ได้แก่ แรงที่เกิดจากเครื่องเร้าภายนอกมากระตุ้น ทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมต่างๆ
                                   
ผลที่ได้จากการจูงใจ
            1.  ทำให้เกิดพลังงาน หรือเกิดมีพฤติกรรมต่างๆ ขึ้น เช่น การชมเชย ย่อมทำให้เกิดความ
ชื่นบาน มีกำลังใจในการทำงานยิ่งขึ้น
            2.  ทำให้เกิดการเลือก  จัดเป็นการกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล เช่น การอ่านหนังสือ พิมพ์ ผู้ที่สนใจการกีฬา ก็จะอ่านข่าวกีฬา ผู้สนใจการเมือง ก็จะอ่านข่าวการเมืองก่อนข่าวอื่น เป็นต้น การจัดบทเรียน จึงควรจัดให้ตรงกับความสนใจเป็นประการสำคัญ
            3.  เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน นับเป็นการเร้าให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียนได้เป็นอย่างดี
            4.  เป็นการนำไปสู่จุดหมายปลายทาง เช่น เด็กวัยรุ่นต้องการความเป็นอิสระ เลี้ยงชีพด้วยตนเอง เด็กก็จะพยายามเรียนจนสำเร็จ เพื่อจะให้หาเงินเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้
การปรับตัว
            วิธีการที่บุคคลหาทางลดความวิตกกังวลให้น้อยลงหรือหมดไปนี้ก็คือการปรับตัว (Adjustment)
สาเหตุของการปรับตัว คนเราจะปรับตัวเมื่อเกิดความไม่สบายใจ ความวิตกกังวล (Anxiety) ความคับข้องใจ (Frustration) และความเครียด (Tension) ซึ่งอาจจะเกิดจากสิ่งต่อไปนี้
            1.  ไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐาน (need) ของตนได้
            2.  เกิดจากความขัดแย้ง การที่บุคคลไม่สามารถจะตัดสินใจเลือกกระทำ ทั้ง 2 อย่างได้ ในขณะเดียวกันแต่จะต้องเลือกกระทำเพียงอย่างเดียว
ข้อควรคิดสำหรับครูเกี่ยวกับสุขภาพจิต
            การที่ครูจะทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กได้ดีนั้น ตัวครูเองจะต้องมีสุขภาพจิตดีด้วย มิฉะนั้นก็คงจะส่งเสริมเด็กได้ยาก ครูจึงควรสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่าสุขภาพจิตของตนยังดีอยู่หรือไม่  ครูที่มีความบกพร่องทางสุขภาพจิตจะมีลักษณะดังนี้
1.  รู้สึกไม่พอใจเกี่ยวกับตัวเองอยู่เสมอ ทำอะไรเป็นทุกข์เป็นร้อน มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย
2.  ไม่พอใจในหน้าที่ของตน เช่น เห็นว่างานของครู จุกจิกเบื่อการพร่ำสอนเด็ก เห็นเด็กมีพฤติกรรม น่าเวียนหัว เบื่อการตรวจการบ้าน เห็นการบ้านของเด็กแล้วมีความระอา
3.  ไม่พอใจในสังคม มักจะคิดว่าครูคนอื่นไม่เป็นมิตรกับตน ผู้ปกครองเด็กไม่เคารพนับถือตน ตนเข้ากับใครไม่ได้ มีความคับข้องใจอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตัวเองไม่มีความสุข
ทัศนคติ
            ทัศนคติ (Attitude)   หมายถึงความรู้สึกและท่าทีของคนเราที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกในทางชอบ ไม่ชอบและมีผลทำให้บุคคลพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งนั้นตามความรู้สึกดังกล่าว
จากความหมายของทัศนคติที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ทัศนคติประกอบไปด้วย
1.  องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Component) ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ของบุคคล  ต่อสิ่งของ
2.  องค์ประกอบทางด้านความรู้สึก  (Affective Component) เป็นสภาพทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลถูกเร้าจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งถ้าเราชอบ สบายใจ สนุก ก็จะเกิดทัศนคติที่ดีแต่ถ้าไม่ชอบ ไม่สนุก ถูกดูหมิ่น  ถูกเยาะเย้ย ก็จะมีทัศนคติในทางที่ไม่ดี
3.  องค์ประกอบทางด้านแนวโน้มของการกระทำ (Action Tendency Component)  เป็นทิศทางของการตอบสนองหรือการกระทำในทางใดทางหนึ่งซึ่ง เป็นผลมาจากองค์ประกอบด้านความคิดและความรู้สึก
ลักษณะของทัศนคติ
            1.  ทัศนคติเชิงบวก - ลบ  ยิ่งสะสมประสบการณ์ในทางใดทางหนึ่งอย่างเต็มที่หรืออาจเกิดจากอคติมากๆ จะทำให้มีความเข้มข้นสูงมากเป็นทัศนคติเชิงบวกสุดหรือลบสุด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก
            2.  เกิดจากความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) ต่อสิ่งเร้าในทางที่ดีหรือไม่ดี หรือเฉย ๆ
            3.  การแยกแยะเป็นส่วน  (Differentiation)  การรับรู้ต่อสิ่งเร้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยพิจารณา  องค์ประกอบย่อยแต่ละส่วน จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะก่อให้เกิดทัศนคติในทางใดทางหนึ่งได้ดีกว่า การรับรู้ที่คลุมเครือ หรือรับรู้รวมๆ
            4.  โดดเดี่ยว (Isolation) ทัศนคติต่อสิ่งเร้าบางอย่าง อาจจะแตกต่างไปจากทัศนคติที่มีต่อสิ่งเร้านั้นโดยส่วนรวม เช่น เราไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์  แต่เราอาจจะเฉยๆ หรือชอบครูที่สอนคณิตศาสตร์ก็ได้  ถ้าครูคนนั้นสวย พูดจากอ่อนหวานหรือมีลักษณะบางอย่างที่เราชอบ
            5.  เข้มข้น  (Strength) ทัศนคติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้  แต่ถ้าทัศนคติต่อสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ บางอย่างที่สะสมมานาน และลงรากลึกถาวร จะเปลี่ยนแปลงได้ยาก   ถ้าให้คนที่เคยชินกับระบบอาวุโสเคยออกแต่คำสั่ง หรือเข้มงวดกับระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างมากๆ มารับฟังความคิดของคนอายุต่ำกว่า หรือให้เด็ก ทำอะไรได้ตามใจชอบโดยไม่ตั้งกฎอะไรเลย จนกว่าเด็กจะรู้เองว่าควรจะปฏิบัติตน
อย่างไรเมื่อยู่ในสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งนั้น เป็นเรื่องยากมาก
การสร้างและพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
            1.  การสร้างทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียนและวิชาต่าง ๆ อาจทำได้โดย
                        1.1จัดประสบการณ์ที่นำความพอใจ นำความสนุกสนานมาให้แก่ผู้เรียน โดยการสอนวิชาต่างๆ ให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง
                        1.2 ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องต่าง ๆ เช่นความประพฤติ ความมีวินัยในตนเองและวินัยทางสังคม ให้ความอบอุ่นและพยายามทำความเข้าใจแก่นักเรียน
                        1.3  จัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรียน ให้น่าสนใจ เช่น  สภาพของห้อง บรรยากาศในห้องเรียน มีการจัดห้องสมุดศูนย์การเรียน เป็นต้น
            2.  การเปลี่ยนแปลงแก้ไขทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน ต่อวิชาเรียนตลอดจนกฎข้อบังคับต่างๆ       อาจทำได้โดยค้นให้พบสาเหตุที่ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อบางสิ่งบางอย่าง แล้วจึงหาทางแก้ไข
ความสนใจกับการเรียนรู้
            ความสนใจ (Interest) เป็นส่วนหนึ่งของทัศนคติ กล่าวคือเป็นความรู้สึกในทางที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้แนวโน้มของพฤติกรรมเป็นในทางที่ดี เช่น ถ้าเด็กสนใจคณิตศาสตร์ จะเข้าเรียนทุกชั่วโมงและใช้เวลาส่วนใหญ่ไปเพื่อวิชานี้ มากกว่าอย่างอื่นความสนใจของบุคคลจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความถนัด รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นสำคัญ
การสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน
            1.  ต้องศึกษาถึงความต้องการของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่ว่าเป็นอย่างไร จะได้จัดบทเรียน สภาพห้องเรียน สื่อการเรียนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของเขา
            2.  ก่อนจะสอนเรื่องใดควรสำรวจความสามารถพื้นฐานตลอดจนความถนัดของผู้เรียนก่อน เพื่อจัดสิ่งเร้าให้ตรงกับที่เขาต้องการ
            3.  จัดสภาพห้องเรียนให้น่าสนใจ ตั้งคำถามยั่วยุและท้าทายความสามารถของนักเรียน ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวกับสภาพการณ์บางอย่างที่เป็นปัญหา ที่แปลกไปจากเดิม เป็นต้น
            4.  ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในงานที่ทำบ้าง เพื่อเป็นกำลังใจให้เขาทำงานระดับสูงต่อไป โดยเลือกงานที่เหมาะกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียน จะช่วยให้เขาสนใจงานที่มอบหมายให้ทำ
            5.  ชี้ทางหรือรายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียนให้ทราบเป็นระยะๆ ให้เขาได้ทราบว่าเขาก้าวมาถึงไหนแล้ว อีกไม่กี่ขั้นก็จะถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการแล้ว จะทำให้เขาตั้งใจทำเพื่อผลสำเร็จของตัวเขาเอง
            6.  ฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเขาบ้าง จากการศึกษานอกสถานที่ จากการสังเกต หรือจากการสัมภาษณ์ สอบถามจากแหล่งวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนการทดลองค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ด้วยวิธีการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน หรือให้นักเรียนฝึกเป็นผู้นำและผู้ตามได้ในโรงเรียน หรือนอกห้องเรียน โดยให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการฝึกวินัยด้วยตัวของนักเรียนเอง     
หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
            หมายถึงกิจที่บุคคลต้องกระทำให้สำเร็จตามคำสั่ง  ตามกฎหมายตามหลักศีลธรรม คุณธรรมหรือด้วยสำนึกในความถูกต้องเหมาะสม  ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูจึงหมายถึง  กิจที่ผู้เป็นครูจำเป็นต้องกระทำให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์  ซึ่งการกระทำของครูอาจจะเป็นไปโดยอาศัยหลักคุณธรรม  จริยธรรม  กฎหมาย  หรือด้วยสำนึกในความถูกต้องเหมาะสม
1. หน้าที่ในการสอน  แบ่งเป็นหน้าที่ย่อย 6 ประการ ดังนี้
1.1 สอนให้รู้ ให้คิด ให้เข้าใจ
1.2 ฝึกนิยมฝึกให้ปฏิบัติ
1.3 ประเมินและวัดสิ่งที่สอนที่ทำ
1.4 แนะและนำให้เด็กแก้ปัญหา
1.5 เตรียมการและวางแผนล่วงหน้า
1.6 เป็นแบบอย่างเสริมสร้างคุณธรรม
2. หน้าที่การจูงใจ ปลูกฝัง เจตคติ ค่านิยม และคุณธรรม แบ่งเป็นหน้าที่ย่อย 5 ประการ ดังนี้ 10
2.1 เป็นผู้ฝึก คือ ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ปัญหา ฝึกปฏิบัติ ฝึกมารยาท ฯลฯ
2.2 เป็นผู้สอน คือ สอนให้รู้เข้าใจเหตุผล หลักการให้รู้ดีชั่ว รู้หลักจริยธรรม
2.3 เป็นผู้แนะ คือนิเทศ ชี้ทาง ช่วยเหลือ บอกวิธีการ ร่วมปฏิบัติ แนะวิธีปฏิบัติ ตามหลักธรรม แนะวิธีแก้ปัญหา และวิธีดับทุกข์ แสวงสุข ความชอบธรรม  และแนวทางช่วยเหลือผู้อื่น
2.4 ผู้นำ คือ เป็นตัวแบบในด้านดี แสดงภาพผู้มีศีลธรรม  ผู้มีความสุขให้ดู  นั่นคือ ปฏิบัติสิ่งที่สอนไปให้เด็กเห็น
2.5 ผู้ส่งเสริมและพัฒนา คือหน้าที่อื่น  ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เช่นบริหาร เผยแพร่ 
 หน้าที่ครูด้านจริยศึกษา
1. ครูทุกคนต้องมีจริยธรรมอยู่ในตัว  ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ได้
2. ครูต้องเคารพความจริง มุ่งแสวงหาความจริง เข้าถึงความจริง แล้วนำไปสอนให้สอดคล้องกับจริยธรรม
3. ครูต้องทำความเข้าใจศัพท์ และถ้อยคำที่ใช้  และเกี่ยวข้องกับคุณธรรม  เพื่อจะได้นำไปใช้สอนให้ถูกต้องเหมาะสม
4. ครูต้องรู้จักคิด รู้จักทำตนเป็นมิตรที่ดี หรือกัลยาณมิตร
5. ครูต้องสอนจริยศึกษาด้วยการปฏิบัติและให้เด็กเห็นตัวอย่าง
6. ครูต้องวัดและประเมินผลการสอนอยู่เสมอ โดยการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนหน้าที่และความรับผิดชอบ
ของครูตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
                        นอกจากครูอาจารย์จะมีหน้าที่ต่อศิษย์ 2 ประการใหญ่ ๆ ดังกล่าวมาแล้ว ครูอาจารย์ยังมีหน้าที่ที่พึงกระทำตามหลักคำสอน  ดังนี้
            1. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
            2. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
            3. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
            4. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ
            5. สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ คือ  ฝึกสอนให้รู้จักเลี้ยงตัว รักษาตัวในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดีเมื่อครูอาจารย์มีหน้าที่ศิษย์ดังกล่าวแล้ว  ศิษย์ก็ต้องพึงกระทำต่อครูอาจารย์ ดังนี้
                        1. ลุกขึ้นต้องรับเมื่อครูอาจารย์เข้ามาหา
                        2. เข้าไปหาเพื่อบำรุง  คอยรับใช้  ขอคำปรึกษา ซักถาม และรับคำแนะนำ เป็นต้น
                        3. ใฝ่ใจเรียน คือมีใจรัก เรียนด้วยศรัทธา และรู้จักฟังให้เกิดปัญญา
                        4. ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
                        5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ  คือ  เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญของศิษย์
                        เมื่องานทำให้เสร็จสำเร็จไป                ก็สุขใจปลาบปลื้มลืมทุกข์ร้อน
คุณภาพครู  มีดังนี้
            1. ทัศนคติของครูผู้สอน  (Instructor’s  Attitude)
                        1.1 ต้องทำให้ผู้เรียนมีความประสงค์ที่จะเรียน
                        1.2 ผลสะท้อนให้ผู้เรียนจะได้รับนั้น  มีอยู่อย่างเดียวคือ  เป็นตัวอย่าง
                        1.3 สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องแสดงให้ผู้เรียนเห็นก็คือ  ครูผู้สอนจะต้องมีความกระตือรือร้น
                                    1.3.1 พยายามให้ว่องไว  กระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลาที่สอน
                                    1.3.2 ให้ตัวอย่างที่แจ่มชัด  และใช้อุปกรณ์การสอนช่วยเท่าที่จะทำได้
                                    1.3.3 มีความภูมิใจที่จะทำให้ดีที่สุด
                        1.4 ข้อแนะนำที่จะช่วยปรับปรุงทัศนคติของครูให้ดียิ่งขึ้น
                                    1.4.1 เชื่อในความสามารถของตนที่จะทำการสอน การเชื่อมั่นในตนเอง  (Self  Confidence)  ได้มาจาก
                                                1.4.1.1 รู้เรื่องที่จะสอนดี
                                                1.4.1.2 เตรียมการสอนและใช้แผนการสอนดี
                                                1.4.1.3 การฝึกหัด
                                                1.4.1.4 มีความภูมิใจในงานและการสอน
                                    1.4.2 ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในตัวครู
                                                1.4.2.1 เรียกชื่อผู้เรียนได้ถูกต้องและรวดเร็ว
                                                1.4.2.2 ทำตัวให้ใกล้ชิดกับผู้เรียน
                                                1.4.2.3 รู้ว่าบทเรียนไหนยากสำหรับผู้เรียน
                                                1.4.2.4 คำนึงถึงความสะดวกสบายของชั้นเรียน
                                                1.4.2.5 พิจารณาและเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
                                                1.4.2.6 ยุติธรรมหนักแน่นและเป็นกันเอง
                                                1.4.2.7 ให้แน่ใจว่าไม่ทิ้งข้อสงสัยใด ๆ ไว้
            2. การปรากฏกายของครู
                        2.1 ต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี
                        2.2 ข้อเสนอแนะที่จะทำได้ดีขึ้นก็คือ
                                    2.2.1 เครื่องแบบ  ตรวจก่อนเข้าชั้นว่าสะอาด เรียบร้อยและถูกต้อง  (ส่องกระจก  ถ้าจำเป็น)
                                    2.2.2 ท่าทางการเป็นทหาร  ให้ดูการวางท่าทางและการออกท่าทาง (สงสัยให้ดูกระจก)
                                    2.2.3 การแต่งตัวดู  การตัดผม  โกนหนวด  ขัดรองเท้า ฯลฯ  (ไม่แน่ใจให้ดูกระจก)
            3. เสียงของครู
                        3.1 ต้องสร้างความสนใจ
                        3.2 ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
                        3.3 ต้องปรับให้ตรงกับเนื้อเรื่อง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์มากที่สุด
                                    3.3.1 ความดังกังวานของเสียง ให้ดังพอที่ผู้เรียนหลังชั้นได้ยิน แต่ไม่ใช่ดังเกินไปจนรบกวนสมาธิ (ให้ผู้เรียนลงไปฟังดู  หรือใช้เครื่องบันทึกเสียงลองฟังเอง)
                                    3.3.2 จังหวะการพูด ช้าพอที่จะให้ผู้เรียนติดตามไปด้วยทัน และสามารถจดโน้ตตามได้เท่าที่จำเป็น
                                    3.3.3 ระดับเสียง ใช้ระดับปานกลาง และเปลี่ยนแปลง สูง ต่ำ บ้าง ทั้งนี้เพื่อป้องกันระดับเสียงเดียวกัน  (Monotone)
                        3.4 สำหรับผู้พูดที่ดีนั้นจะต้องปฏิบัติดังนี้
                                    3.4.1 ออกสำเนียงถูกต้อง
                                    3.4.2 ออกเสียงถูกต้อง
                                    3.4.3 เปลี่ยนจังหวะการพูด
                                    3.4.4 หยุดเป็นครั้งคราว
                                    3.4.5 ควรเป็นการสนทนามากกว่าแสดงโวหาร
                                    3.4.6 ต้องพูดกับผู้เรียน
                                    3.4.7 เลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่หยาบหรือลามก
                                    3.4.8 ใช้อารมณ์ขันเข้าช่วยบ้าง
            4. การใช้ท่วงทีวาจาของครู
                        4.1 ต้องเป็นสิ่งที่ช่วยยิ่งกว่าที่จะทำลายในผลงานของการสอน
                                    4.1.1 หลีกเลี่ยงทางประจำของครู
                                    4.1.2 ไม่พูดจาถากถางผู้รับการสอน
                                    4.1.3 ไม่ทำเป็นรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้
                        4.2 ข้อแนะนำสำหรับการทำให้ดีขึ้นก็คือ
                                    4.2.1 ต้องเป็นปกติธรรมดาอยู่เสมอ
                                    4.2.2 ใช้มือและท่าทางประกอบคำอธิบาย เพื่อช่วยให้เกิดมโนภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
                                    4.2.3 ให้เพื่อนครูช่วยวิจารณ์ท่าทางอาการก่อนที่จะเข้าห้อง  และระหว่างทำการสอน
            5. บุคลิกลักษณะและอุปนิสัยที่พึงปรารถนาในองค์บุคคล
                        5.1 ความซื่อสัตย์  (Honesty)
                        5.2 สุภาพอ่อนโยน  (Courtesy)
                        5.3 รู้จักกาลเทศะ  - ผ่อนหนักผ่อนเบา  (Tact)
                        5.4 อดกลั้น ขันติ  (Patience)
                        5.5 มีความจริงใจ  (Sincerity)
                        5.6 ตรงต่อเวลา  (Punctuality)
                        5.7 มีศรัทธาความเชื่อมั่น  (Faithfulness)
                        5.8 ให้ความร่วมมือ  (Co – operative ness)
            6. ข้อแนะนำในการส่งเสริมบุคลิกลักษณะของตนให้ดียิ่งขึ้น
                        6.1 ยินดีรับฟังคำติชม
                        6.2 เตรียมตัวอยู่เสมอ
                        6.3 ถือว่าผิดเป็นครู
            ระดับคุณภาพครู  (National  Teacher  Qualification  :  NTO)  ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพครูเป็น  5 ระดับ คือ
                        ระดับ 1            ครูปฏิบัติการ
                        ระดับ 2            ครูชำนาญการ
                        ระดับ 3            ครูเชี่ยวชาญ
                        ระดับ 4            ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
            ระดับ 5            ครูผู้ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน กพ. ประกาศใช้เป็น
ลักษณะของการสอนที่ดี  สรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้
            1. ลักษณะของการสอนที่ดี  ครูควรเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  การเตรียมการสอนนับว่าเป็นเทคนิคของการสอนอย่างหนึ่ง  ครูจึงต้องสนใจในเรื่องการเตรียมบทเรียน  และทำบันทึกการสอน  เพื่อเป็นแผนในการสอน  ว่าจะสอนอะไร  อย่างไร  ไม่ใช่พอเข้าชั้นก็สอนไปตามยถากรรม  การกระทำเช่นนี้ย่อมไม่ใช่ลักษณะการสอนที่ดี
            2. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนวิชาที่มีรากฐานจากความสนใจ  ความต้องการของผู้เรียน  ไม่ใช่เป็นการกดขี่  บีบบังคับให้ผู้เรียนเรียน
            3. ลักษณะของการสอนที่ดี วิธีสอนและเนื้อเรื่องที่สอน  ควรเหมาะกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
            4. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนตามระเบียบแห่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียน  ครูจะต้องเตรียมกระบวนการเรียนมาโดยเรียบร้อยแล้ว  โดยการจัดบทเรียนให้เหมาะสมกับวัย  ความสามารถ  ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  นำผู้เรียนให้ใช้ความสังเกต  พิจารณาค้นคว้าหาเหตุผลและนำผู้เรียนให้มีการฝึกหัด และปฏิบัติให้เกิดความชำนิชำนาญ
            5. ลักษณะของการสอนที่ดี  วิชาต่าง ๆ ที่สอนควรให้มีความสัมพันธ์กัน  ไม่ใช่เน้นแต่สอนวิชาใดวิชาหนึ่ง  วิชาในหมวดภาษาทุก ๆ วิชามีความสัมพันธ์กัน  ถ้าเน้นวิชาใดวิชาหนึ่งก็อาจทำให้การเรียนของผู้เรียนได้ผลไม่เท่าที่ควร
            6. ลักษณะของการสอนที่ดี  บทเรียนที่จะสอนต่อไปใหม่  ควรให้มีความสัมพันธ์กับบทเรียนเดิม  โดยถือเอาประสบการณ์เดิมเป็นรากฐานในการเรียนต่อไป  มิฉะนั้นผู้เรียนอาจไม่รู้เรื่อง
            7. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรใช้วิธีที่ให้ผู้เรียนได้ คิด ค้น สังเกต รู้จักเปรียบเทียบหาเหตุผล และตัดสินใจด้วยตนเอง  ไม่ใช่ใครมาบอกให้  การสอนที่มีลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง  ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีของการศึกษา
            8. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนให้มากที่สุด  โดยเฉพาะประสาทสัมผัสที่ 5
            9. ลักษณะการสอนที่ดี  ควรเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยการกระทำที่มีความคิดริเริ่ม  และความคิดที่จะสร้างสรรค์
            10. ลักษณะการสอนที่ดี  อุปกรณ์การสอนย่อมเป็นสิ่งสำคัญมากในการสอน  ครูควรพยายามที่จะจัดหามาใช้ในการสอนเสมอ  แม้ว่าบางครั้งครูหาของจริงไม่ได้  ก็ควรเป็นของจำลอง  หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การสอน
            11. ลักษณะการสอนที่ดีนั้น  ควรเป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจประชาธิปไตย  ฉะนั้นการสอนจึงเป็นการบังคับให้ผู้เรียนต้องทำแต่การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยด้วยตนเอง  (Self – discipline)  การข่มขู่  การทำโทษให้เจ็บพึงละเว้น  เพราะจะไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร  การที่จะให้ผู้เรียนได้เข้าในประชาธิปไตย  และมีวินัยด้วยตนเอง  ครูจึงต้องใช้จิตวิทยาเข้าช่วยในการสอนด้วย
            12. ลักษณะของการสอนที่ดีในปัจจุบันไม่ใช่เป็น  การบอก”  แต่เป็นการแนะนำให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหา  ร่วมอภิปรายโดยกว้างขวาง  และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกหลายอย่าง  เช่นการศึกษานอกสถานที่  การแสดงละคร  การแสดงนิทรรศการ เป็นต้น  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน  ได้คิดแก้ปัญหาเหล่านั้น
            13. ลักษณะการสอนที่ดีจะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ  เกิดความพอใจ  สนใจ  และตั้งใจที่จะเรียน
            14. ลักษณะการสอนที่ดี  ย่อมก่อให้เกิด  ศีลธรรม  ความประพฤติ  มรรยาท  อัธยาศัย  และการควบคุมขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย  ซึ่งเป็นผลพลอยได้  นอกเหนือจากสิ่งที่สอน
            15. ลักษณะของการสอนที่ดีย่อไม่ตายตัวลงไปว่า  จะต้องใช้วิธีนั้น  วิธีนี้  แต่เป็นการสอนที่ยืดหยุ่นได้  โดยการนำเอาหลักการสอนแบบต่าง ๆ มาดัดแปลงใช้ให้บังเกิดผล  เพื่อส่งเสริมความเจริญงอกงามให้แก่ผู้เรียน  และควรพยายามให้ผู้เรียนได้บอกครูมากกว่าครูบอกผู้เรียน
            16. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม  (Teaching  from  Connect  abstract)  วิธีการเช่นนี้  ครูสมัยเก่าทราบได้ดีว่า  ผู้เรียนจะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่ายขึ้น  ถ้าหากสิ่งที่เรียนเป็นรูปธรรม  เป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้  และช่วยเพิ่มความเข้าใจในสิ่งที่เรียน  นักจิตวิทยาเชื่อว่าการสอนโดยวิธีนี้เป็นการช่วยเพิ่มพูนสติปัญญา  และกระสวนแห่งความคิดให้แก่ผู้เรียน
            17. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนให้ผู้เรียนใช้ความคิดวิพากษ์วิจารณ์ เช่น  ในการเรียนวรรณคดี  แทนที่จะสอนให้รู้เรื่องวรรณคดีเท่านั้น  ก็จะสอนให้รู้ซึ้งถึงความรู้  ความคิดเบื้องหลังเรื่องราวในวรรณคดีนั้น ๆ สอนให้รู้จักวิจารณ์เปรียบเทียบวรรณคดีในสมัยต่าง ๆ
            18. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนโดยสำรวจปัญหา  ตั้งสมมติฐาน  ค้นคว้า  ทดลองแล้วสรุปความรู้และความคิดออกมาเป็นทฤษฎี  เช่น ในการเรียนวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ
จิตวิทยาการเรียนรู้ รับรู พัฒนา
การรับรู้ เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึกจิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
จิตวิทยาการเรียนรู้
             การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
พฤติกรรมการเรียนรู้
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก
จิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
-ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain
๒. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )
๓. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase)
ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูงองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller)เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. แรงขับ (Drive)
๒. สิ่งเร้า (Stimulus)
๓. การตอบสนอง (Response)
๔. การเสริมแรง (Reinforcement)ธรรมชาติของการเรียนรู้Stimulus สิ่งเร้า Sensation ประสาทรับสัมผัส Perception การรับรู้Concept ความคิดรวบยอด Response ปฏิกิริยาตอบสนอง Learning เกิดการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1. การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
2. การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เนื่องมาจากประสบการณ์
3. การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้
4. การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม
5. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม6. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ
7. การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
8. การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน
9. การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่10. การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้การถ่ายโยงการเรียนรู้การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer)การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)การนำความรู้ไปใช้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น