หน่วยที่ 2

หน่วยที่ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
    1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้   ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
    1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
    1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร  
         รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (
communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสื่อ
            การสื่อสาร (
communication )คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน 

            ผู้ส่งสารคือผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข่าวสารในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
สื่อหรือช่องทางในการรับสารคือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
ผู้รับสารคือผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
ตัวอย่างแบบจำลองทางการสื่อสาร

              ปี 1954 Wilber schramm และ C.E. Osgood ได้สร้าง Model รูปแบบจำลองเชิงวงกลมการสื่อสาร เป็นรูปแบบของการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)

3.กรอบแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีระบบ
การวิจัยเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการประเมินความสำเร็จของโครงการหรือการวัดความสามารถในการบรรลุผลของการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง  ผลที่ได้จากการประเมินจะเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการดำเนินงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด  นักทฤษฎีองค์การทั้งหลายต่างพากันเสนอแนวคิด  วิธีการวิเคราะห์และตัวแบบ  (Models)  ของการศึกษาเพื่อการประมินความสำเร็จของโครงการหรือหน่วยงานต่างๆ  (Amitai  Etzioni,  1964  :1  อ้างใน  ภรณี  กีร์ติบุตร,  2529 : 1)   กิบสันและคณะ  (Gibson  and  others,  1979  :  27)  เสนอแนะว่าการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการจัดการทีเหมาะสมที่สุดคือการใช้แนวคิดทฤษฎีระบบเป็นตัวแบบหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์
ทฤษฎีระบบ  (System  Theory)  มีต้นกำเนิดมาจากนักทฤษฎีองค์การและนักชีววิทยาคือ  โบลด์ดิ้งและ  เบอร์ทาแลนด์ไฟ  (Boulding  and  Bertalunffy)  ที่มององค์การในฐานะสิ่งมีชีวิต  โดยมองในรูประบบเปิดเหมือนระบบกายวิภาคของสิ่งมีชีวิต  (Anatomy)  เช่นเดียวกับ  มิลเลอร์และไรซ์  (Miller  and  Rice,  1967  :  3)  คิมเบอร์ลี่  (Kimberly,  1979  :  437 – 457)  และดาวส์  (Downs,  2524  :  13 – 20)  รวมทั้งนักทฤษฎีอื่น ๆ อีกหลายท่าน  
 แนวคิดของทฤษฏีระบบ  จึงเป็นอีกหนึ่งตัวแบบที่เหมาะสมในการประเมินผลตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง  เพราะเป็นการศึกษาและมองภาพชุมชนท้องถิ่นอย่างองค์รวมและเป็นระบบ  ซึ่งประกอบด้วยหน่วยขององค์การหรือหน่วยเปลี่ยนสภาพซึ่งในที่นี้คือชุมชนท้องถิ่น  หน่วยปัจจัยนำเข้า  หน่วยนำออกผลผลิต  และหน่วยผู้ใช้ผลผลิตซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมองค์การ  จะเรียกว่า  “บริบท”  (Context)  ซึ่ง  ศาสตราจารย์  ดร.เฉลียว  บุรีภักดี  ได้สังเคราะห์จากการศึกษาทฤษฎีทั้งตะวันตกและแนวคิดตะวันออก  ดังนี้
      ข้อชี้แนะในการศึกษาทฤษฎีระบบ
            ศาสตราจารย์ ดร.เฉลียว บุรีภักดี ได้สังเคราะห์แนวความคิดเชิงระบบ  (Systems  Concepts)  และการคิดเชิงระบบ  (Systems  Thinking)  ในตำราภาษาอังกฤษหลายเล่ม  กับได้ศึกษาทฤษฎีในทางพุทธธรรม  3  ทฤษฎี  คือ  อิทัปปัจจยตา  ปฏิจจสมุปบาท  และไตรลักษณ์  ตลอดเวลาประมาณ  30  ปี  ที่ได้ศึกษาเรื่องนี้และได้เฝ้าสังเกต  “สิ่งจริง”  หรือ  “Reality”  ในเอกภพนี้  (The  Universe)  แล้วนำมาคิดทบทวนประมวลและสังเคราะห์เข้าด้วยกัน  สรุปขึ้นเป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีชุดหนึ่ง  แนวคิดประเด็นต่าง ๆ อันเป็นส่วนประกอบของ “ ทฤษฎีระบบ ว่าเป็นผลสะสม  ซึ่งได้ผ่านการปรับปรุงมาเป็นระยะ ๆ คือ  เมื่อสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างของสิ่งจริง  (Reality)  เพิ่มขึ้นก็นำมาปรับปรุงแนวความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งที่สังเกตเห็นนั้นพร้อมกับกลับไปศึกษาแนวความคิดของผู้อื่นอีกครั้ง  และทดลองนำแนวความคิดใหม่ที่ปรับปรุงแล้วของตนเองไปเปรียบเทียบหรือประยุกต์ใช้กับสิ่งจริงอีกอันหนึ่ง  เพื่อตรวจดูความสอดคล้องกัน  ทั้งนี้เพราะเชื่อว่า  ทฤษฎีใด ๆ  ถ้าไม่สอดคล้องกับสิ่งจริง  ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะใช้อธิบาย  หรือใช้ทำนาย  หรือใช้ควบคุมความเป็นไปของสิ่งจริงเหล่านั้น
            ทฤษฎีระบบนี้มีลักษณะเนื้อหาสาระเป็น  “ทฤษฎีทั่วไป”  หรือเป็นความคิดพื้นฐาน  หรือข้อตกลงเบื้องต้น  (Basic  Assumption)  ที่รองรับทฤษฎีเฉพาะด้านหรือทฤษฎีเฉพาะเรื่อง  กล่าวคือ  ทฤษฎีเฉพาะด้านทั้งหลายต่างก็มีข้อตกลงเบื้องต้นมาก่อนว่า  “ผลย่อมเกิดจากเหตุดังเช่นที่เป็นความคิดหลักของทฤษฎีระบบ  จากนั้นแต่ละทฤษฎีดังกล่าว  จึงเจาะจงระบุแต่ละคู่ของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล เมื่อนำทฤษฎีระบบไปใช้อธิบายเหตุการณ์หรือใช้แก้ปัญหา  เราสามารถนำเอาทฤษฎี อื่น ๆ เฉพาะด้านมาใช้ร่วมกันได้อย่างไม่มีความขัดแย้ง  ทฤษฎีระบบจึงเป็นเหมือนเบ้าหลอมรวมทฤษฎีอื่น ๆ เข้ามาใช้งานด้วยกัน
     
 ภาพโดยรวมของทฤษฎีระบบ
             ทฤษฎีระบบ  (The  Systems  Theory)  คือ  แนวคิดที่เชื่อว่าเอกภพแห่งนี้  (The  universe)  เป็นหนึ่งหน่วยระบบ  ซึ่งมีคุณสมบัติประการต่าง ๆ  ตามที่จะกล่าวต่อไป  ยกเว้นบางประการที่ยังไม่อาจจะรู้ได้  เพราะเอกภพเป็นหน่วยระบบที่ใหญ่โตเกินกว่าที่เราจะสังเกตและพิสูจน์ได้ครบถ้วน  และแม้ส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของเอกภพซึ่งนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า  “คว้าร์ก”  (Quaek)  และเราสังเกตหรือพิสูจน์ได้ยากก็เป็นหน่วยระบบเช่นเดียวกัน  แต่อาจมีคุณสมบัติอย่างไม่ครบถ้วน  ส่วนสิ่งอื่น ๆ ทั้งหลายที่มีขนาดระหว่างกลางของสิ่งทั้งสองนี้  ล้วนมีคุณสมบัติของความเป็นหน่วยระบบครบถ้วนทุกประการ
    คุณสมบัติสำคัญเท่าที่ได้ค้นพบแล้วของหน่วยระบบแต่ละหน่วย  คือ
1.   เป็นหน่วยทำงาน
2.   มีขอบเขต
3.   มีผลผลิต
 4.  มีกระบวนการ
5.   มีปัจจัยนำเข้า
6.   มีบริบท
7.   มีผลย้อนกลับ
8.   ประกอบขึ้นจากหน่วยระบบอนุระบบจำนวนหนึ่ง
9.   เป็นหน่วยอนุระบบหนึ่งของหน่วยอภิระบบ
10.  มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดบนมิติเวลา
11.  มีที่มาที่อยู่และที่ไป
              เมื่อนำคุณสมบัติทั้งหลายมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นแผนภาพเดียว  จะได้รูปแบบเป็นโครงสร้างทางความคิด  (Conceptual  Framework)  ของหนึ่งหน่วยระบบ  (A  System  Unit) 
            คุณสมบัติของการ  “เป็นหน่วยทำงาน”  (Working  Unit)  ในที่นี้หมายความว่า  หน่วยนี้มิได้อยู่นิ่งเฉยแต่เป็นหน่วยทำงานบางอย่างตามลักษณะงานที่หน่วยระบบนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทำงานซึ่งลักษณะงานเหล่านี้บางอย่างมนุษย์ก็ไม่อาจรู้ได้หรือเข้าใจได้เสมอไป  เช่น  มนุษย์ไม่รู้ว่าเอกภพถูกสร้างขึ้นมาโดยอะไรหรือโดยผู้ใด  เพื่อให้ทำงานอะไร  แต่มีบางหน่วยระบบที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้  เช่น  เรารู้ว่าคณะกรรมการสอบคัดเลือกของโรงเรียนถูกสร้างขึ้นโดยอาจารย์ใหญ่  เพื่อทำการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียน  เป็นต้น
มีขอบเขต
      คุณสมบัติของการ  “มีขอบเขต”  (Boundary)  ในที่นี้หมายความว่า  มีเส้นเขตแดนล้อมรอบเนื้อที่ของหน่วยนี้  ซึ่งอาจแบ่งแยกเนื้อที่ของหน่วยนี้ออกจากหน่วยอื่น  ทำให้หน่วยอื่น ๆ  เหล่านั้นมีสภาพเป็น  “บริบท”  ของหน่วยนี้  เช่น  ผิวหนังและปลายเส้นผมของคนเป็นแนวแบ่งเขตแดนซึ่งแยกคนหนึ่งออกจากสิ่งอื่นภายนอก
มีผลผลิต
      คุณสมบัติของการ  “มีผลผลิต”  (Product)  ในที่นี้หมายความว่า  หน่วยระบบนี้ให้     ผลผลิตบางอย่าง  อันเป็นผลมาจากการทำงานของหน่วยระบบ  ผลผลิตดังกล่าวอาจมีมากกว่าหนึ่งรายการก็ได้และแต่ละรายการเมื่อหลุดออกมาจากหน่วยระบบแล้ว  ก็จะเลื่อนไหลไปเป็นปัจจัยนำเข้าของหน่วยระบบอื่นที่เป็นบริบทของหน่วยระบบนี้ต่อไป
มีกระบวนการทำงาน
      คุณสมบัติของการมีกระบวนการทำงาน”  ( Process)  คือ หน่วยระบบนี้มีกระบวนการทำงานที่มีลักษณะเป็นแบบแผนชัดเจนและมีความคงที่ในห้วงเวลาหนึ่งสามารถสังเกตได้และประเมินได้กระบวนการทำงานนี้คือการที่ปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ  มากระทำปฏิกิริยาต่อกัน  จนบังเกิดเป็นผลผลิตของหน่วยระบบ  กระบวนการอาจจะมีหลายขั้นตอน  และแต่ละขั้นตอนมีลักษณะเป็นหน่วยระบบในตัวเองอีกด้วย  คือ  มีคุณสมบัติทุกข้อ  ของหน่วยระบบ 
มีปัจจัยนำเข้า
คุณสมบัติของการ  “มีปัจจัยนำเข้า”  (Input)  ในที่นี้หมายความว่า  หน่วยนี้ได้รับเอาบางสิ่งบางอย่างเข้ามาในหน่วยระบบ  เพื่อนำไปเข้ากระบวนการและแปลงรูปเป็นผลผลิต  ปัจจัยนำเข้าเหล่านี้ได้มาจากผลผลิตของหน่วยระบบอื่น ๆ  ซึ่งเป็นบริบทของหน่วยนี้  มีข้อควรสังเกต  คือหน่วยระบบที่เป็นสิ่งมีชีวิตสามารถคัดเลือกปัจจัยนำเข้า  แต่หน่วยระบบที่ไม่มีชีวิต  จะไม่สามารถคัดเลือกปัจจัยนำเข้าด้วยตัวเอง  เว้นไว้แต่ได้ถูกวางเงื่อนไขหรือโปรแกรมไว้ล่วงหน้าโดยผู้สร้างหน่วยระบบนั้นกิจกรรมการคัดเลือกปัจจัยนำเข้า  หรือการปรับกระบวนการภายในได้ชื่อว่าเป็นการส่งผลย้อนกลับภายใน  (Internal  Feedback)  ปัจจัยนำเข้าบางตัวเช่น  “บุคคล”  สามารถจัดการเลือกสรรปัจจัยนำเข้าตัวอื่น ๆ  สามารถกำหนด  กระบวนการ  และสามารถกำหนดลักษณะของผลผลิตของหน่วยระบบได้ 
มีบริบท
            คุณสมบัติของการ  “มีบริบท”  (Context)  ในที่นี้หมายความว่ามีหน่วยระบบอื่นๆ จำนวนหนึ่งที่อยู่นอกเส้นเขตแดนของหน่วยนี้  ซึ่งให้ปัจจัยนำเข้าแก่หน่วยนี้และรับเอาผลผลิตของหน่วยนี้  หน่วยอื่นๆ  เหล่านั้นเมื่อรวมกันแล้วเรียกว่าบริบทของหน่วยนี้  การที่ผลผลิตถูกส่งผ่านบริบทแล้วมีผลกระทบไปถึงปัจจัยนำเข้าขั้นต่อไปเช่นนี้ได้ชื่อว่าเป็นส่งผลย้อนกลับภายนอก          ( External Feedback)  บริบทมีอิทธิพลต่อหน่วยระบบอย่างมาก  อาจเป็นผู้สร้างหน่วยระบบให้เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงหน่วยระบบก็ได้  ทั้งด้านปัจจัยนำเข้ากระบวนการ  และผลผลิตของหน่วยระบบ
มีผลย้อนกลับ
 คุณสมบัติของการมีผลย้อนกลับ” ( Feedback)  ในที่นี้คือการที่ผลผลิตตามขั้นตอนต่าง ๆ  จากการทำงานของหน่วยระบบถูกส่งให้มีผลกระทบไปถึงขั้นก่อนหน้านั้น  ถ้าผลดังกล่าวถูกส่งผ่านบริบทภายนอกได้ชื่อว่าเป็นการส่งผลย้อนกลับภายนอก (External Feedback)  และถ้าเป็นการส่งผ่านภายในขอบเขตของหน่วยระบบเองเรียกว่า  การส่งผลย้อนกลับภายใน  (Internal Feedback)  ดังได้กล่าวแล้วในข้างต้น
  ประกอบขึ้นจากหน่วยอนุระบบจำนวนหนึ่ง
คุณสมบัติของการประกอบขึ้นจากหน่วยอนุระบบจำนวนหนึ่ง”  (Being Composed of a Number of a Subsystem Units)  ในที่นี้หมายความว่า  หน่วยระบบนี้เมื่อนำมาวิเคราะห์แยกแยะหาส่วนประกอบจะพบว่าประกอบด้วยอนุระบบย่อยๆ  จำนวนหนึ่ง หน่วยอนุระบบดังกล่าวได้แก่ปัจจัยนำเข้าแต่ละรายการ  กระบวนการทำงานแต่ละรายการ  และผลผลิตแต่ละรายการ   ซึ่งล้วนมีคุณสมบัติเป็นหน่วยระบบในตัวเองทั้งสิ้น
  เป็นหน่วยอนุระบบหนึ่งของหน่วยอภิระบบหนึ่ง
คุณสมบัติของการเป็นหน่วยอนุระบบหนึ่งของหน่วยอภิระบบหนึ่ง” ( Being a Subsystem Units of a Suprasystem Units) ในที่นี้หมายความว่า หน่วยระบบนี้เป็นส่วนย่อยของหน่วยอภิระบบอีกหน่วยหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยนี้  หน่วยอภิระบบดังกล่าวนอกจากประกอบขึ้นจากหน่วยอนุระบบนี้แล้วยังประกอบด้วยหน่วยอนุระบบอื่นๆ  อีกจำนวนหนึ่ง  หน่วยระบบที่เป็นสมาชิกหรือส่วนประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะทำงานประสานกันเพื่อผลผลิตของแต่ละหน่วยอนุระบบรวมกันส่งผลให้เป็นผลผลิตรวมของหน่วยอภิระบบ
 มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดบนมิติเวลา
             คุณสมบัติของการ  "มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดบนมิติเวลา"   (Having Starting Point and Ending Point on Time Dimension)   ในที่นี้หมายความว่าหน่อยระบบนี้เกิดขึ้น ณ เวลาหนึ่งเวลาใดแล้วดำเนินไประยะเวลาหนึ่ง   จึงสิ้นสุดความเป็นหน่วยระบบ  โดยที่บรรดาอนุระบบของหน่วยระบบนี้แยกสลายจากกัน  มิได้ทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดผลผลิตรวมของหน่วยระบบนี้อีกต่อไป  บรรดาหน่วยอนุระบบที่แยกสลายจากกันแล้วนั้น   ต่างหน่วยก็ต่างแยกย้ายกันไปเป็นปัจจัยนำเข้าของหน่วยระบบอื่น ๆ ในบริบทหรือในอภิระบบต่อไป
มีที่มาที่อยู่และที่ไป
คุณสมบัติของการ  "มีที่มาที่อยู่และที่ไป  (Having Past Condition, Present Condition, and Future Condition)  ในที่นี้หมายความว่าหน่วยระบบแต่ละหน่วยย่อมก่อกำเนิดมาจากเหตุการณ์ใดเหตุการหนึ่งก่อนหน้านี้   และมาปรากฏดังในสภาพปัจจุบัน  แล้วจึงจะถึงเวลาในอนาคตที่ไปสู่สภาพอื่น  การก่อกำเนิดก็ดีและการดำรงอยู่ก็ดี  ตลอดจนการเป็นไปในอนาคตก็ดีล้วนมาจากการกระทำของเหตุปัจจัยที่เป็นธรรมชาติหรือเหตุปัจจัยที่เป็นการกระทำของมนุษย์  หรือทั้งสองประการผสมกัน  เช่น  หน่วยครอบครัวถูกสร้างขึ้นโดยการกระทำของมนุษย์หรือทั้งสองประการผสมกัน เช่นหน่วยครอบครัวถูกสร้างขึ้นโดยการกระทำของมนุษย์   แต่สัตว์เซลล์เดียว  ถูกสร้างขึ้นโดยการกระทำของธรรมชาติ   เป็นต้น

4.ทฤษฎีการเผยแพร่
ความหมายของการเผยแพร่
            การเผยแพร่  (Diffusion)  หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย  ฉะนั้น  การเผยแพร่จึงเป็นกระบวนการซึ่งนวัตกรรม (Innovation)  จะถูกนำไปถ่ายทอดผ่านช่องทางของการสื่อสาร  (Communication)  ในช่วงเวลาหนึ่ง
(Time)  กับสมาชิกที่อยู่ในระบบสังคมหนึ่ง  (Social System)  ให้เกิดการยอมรับ  (Adoption)  จากการวิเคราะห์ลักษณะของการเผยแพร่  พบว่ามีสิ่งที่มีอิทธิพลในการดำเนินการของกระบวนการเผยแพร่  อยู่ 5 ประการ  คือ
                        1.  ตัวนวัตกรรมเอง 
                        2.  สารสนเทศหรือข้อมูลที่นำไปใช้ในการสื่อสารของนวัตกรรมนั้น
                        3.  เงื่อนไขด้านเวลา
                        4.  ธรรมชาติของระบบสังคมหรือชุมชนที่นวัตกรรมจะนำไปเผยแพร่
                        5.  การยอมรับ
ความหมายการเผยแพร่  (แพร่กระจาย)  นวัตกรรมการศึกษา  (Diffusion of Innovation)
            การแพร่กระจายหรือการเผยแพร่นวัตกรรม  เป็นกระบวนการในการถ่ายเทความคิด การปฏิบัติ  ข่าวสาร  หรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่น โดยกว้างขวาง  จนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้น  อันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด
            Everette M. Rogers (1983)  ได้ให้ความหมาย  คำว่า  การเผยแพร่  (การแพร่กระจาย)  หรือ "Diffusion"  ดังต่อไปนี้  การเผยแพร่  คือ  กระบวนการซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกต่างๆ ที่อยู่ในระบบสังคม  (Diffusion is the process by which an innovation is communicated through certain channels overtime among the members of a social systems)  ตามความหมายข้างต้น Rogers  ได้อธิบายส่วนประกอบของการเผยแพร่  นวัตกรรมไว้ 4 ประการ  คือ                         1.  มีนวัตกรรมเกิดขึ้น
            2.  ใช้สื่อเป็นช่องทางในการส่งผ่านนวัตกรรมนั้น
            3.  ช่วงระยะเวลาที่เกิดแพร่กระจาย
            4.  ผ่านไปยังสมาชิกในระบบสังคมหนึ่ง
ความสำคัญของการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาและความเป็นมา
            ปัจจุบันเรากำลังอยู่ที่จุดของการเปลี่ยนแปลง  ยุคของการเกิดสิ่งใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ ซึ่งในตัวของมันเองก็เป็นสิ่งที่แปลกไปจากความเคยชินของคนโดยทั่วไปในสังคมอยู่แล้ว  และสิ่งใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ เหล่านี้  ยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลกระทบต่อสังคม  หลังจากที่คนในสังคมยอมรับเอาสิ่งใหม่ ๆ  เหล่านี้มาปฏิบัติใช้อีกด้วย
            กระบวนการเผยแพร่นวัตกรรม  นับว่ามีบทบาทเป็นอย่างมากและได้มีนักทฤษฎี  ตลอดจนนักวิจัย  ได้พยายามทำการค้นคว้าหาความจริงเกี่ยวกับกระบวนการเผยแพร่ในหลาย ๆ  สาขาวิชา
ด้วยกันที่เด่น ๆ  ก็มี  สาขามานุษยวิทยา (Anthropology)  สาขาสังคมวิทยายุคต้น  (Early Sociology) สังคมวิทยาว่าด้วยเรื่องชนบท  (Rural Sociology)  สาขาการศึกษา  (Education)  สาขาการแพทย์ (Medical  Sociology)  สาขาการสื่อสาร  (Communication)  และสาขาการตลาด  (Marketing
            ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาและการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
ซึ่งปรากฏว่ามีนวัตกรรมทางการศึกษาจำนวนมาก  ได้รับการนำเสนอเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
ของเรา  ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางการสอน  (เช่น  การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  การสอนแบบบูรณาการ  การสอนแบบเน้นชุมชนเป็นห้องเรียนและการสอนแบบเพลิน  เป็นต้น)  นวัตกรรม
หลักสูตร  (เช่น  หลักสูตรท้องถิ่น  หลักสูตรสถานศึกษา  หลักสูตรแบบโมดูลและหลักสูตรแบบ
E-Learning  เป็นต้น)  นอกจากนี้  ยังมีนวัตกรรมด้านบริหาร  ด้านการวัดและประเมินผล  ด้านสื่อ
การเรียนการสอน  ตลอดจนนวัตกรรมด้านแนวความคิดและปรัชญาทางการศึกษาอีกเป็นจำนวนมาก แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการศึกษาค้นคว้าและการวิจัยเรื่องการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษานั้น  ยังมี
ผู้ให้ความสนใจน้อยมาก  แม้ว่าที่จริงแล้วการจะนำนวัตกรรมทางการศึกษาที่สร้างขึ้นไปใช้ให้ได้
ผลอย่างจริงจังและอย่างเต็มรูปแบบมากน้อยเพียงไร  ขึ้นอยู่กับการออกแบบหรือเลือกใช้กระบวนการการเผยแพร่ที่เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของสถานศึกษาพอ ๆ กับลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวของนวัตกรรมนั้น ๆ ด้วย
            การวิจัยทางด้านการเผยแพร่นวัตกรรมจะเป็นการศึกษาปัจจัย  5 ประการนี้ว่า  มีผลอย่างไรและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร  ในการส่งเสริมให้มีการยอมรับและใช้ผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษา
                        1.  Innovation  หมายถึง  ความคิดใหม่เทคนิควิธีการใหม่หรือสิ่งใหม่ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  นวัตกรรมนั้นเป็นสิ่งที่สร้างความรู้เป็นของใหม่สำหรับกลุ่มผู้มีศักยภาพในการยอมรับนวัตกรรม  กฤษมันต์  (2536,  หน้า  104)
                        2.  Communication channels  ช่องทางในการสื่อสารที่ใช้มากคือ  การใช้สื่อสารมวลชน  แต่การสื่อสารระหว่างบุคคลแบบปากต่อปากยังเป็นที่ยอมรับและใช้ได้ดีอยู่  ปัญหาคือการประเมินผลการใช้ช่องหรือสื่อเพื่อการเผยแพร่นั้น  ยังไม่มีการศึกษาผลของการใช้อย่างมีระบบมากนัก  ส่วนมากยังใช้การสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้อยู่
                        3.  Time  เวลาหรือเงื่อนไขของเวลา  ในแต่ละขั้นตอนของการเผยแพร่และยอมรับอาจมีช่วงของเวลาในแต่ละขั้นแตกต่างกัน  จำเป็นต้องมีการศึกษาและคาดการณ์ไว้สำหรับงานการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
                        4.  Social System  เป็นระบบสังคมที่มีธรรมชาติ  วัฒนธรรมของคนในสังคมที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้  ฐานะทางเศรษฐกิจของคนในสังคมโดยรวม  และกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกัน  สามารถยอมรับนวัตกรรมได้แตกต่างกัน  การเมือง  การปกครอง   มีอำนาจต่อการยอมรับนวัตกรรมเป็นอย่างมาก  การศึกษาถึงอิทธิพลของระบบสังคมจะช่วยให้เข้าใจและหาวิธีการที่เหมะสมในการเผยแพร่นวัตกรรมได้
                        5.  Adoption  เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในการยอมรับ  (หรือปฎิเสธ) นวัตกรรมและเทคโนโลยี  โดยมีพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา  เป็นองค์ความรู้สำคัญในการอธิบายกระบวนการในการยอมรับ  (หรือไม่ยอมรับ) จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  พอจะสรุปให้เห็นถึงงานวิจัยที่ได้ทำไปแล้วในแต่ละประเภท ดังนี้
1.  การศึกษาด้วยอัตราความเร็วของการยอมรับนวัตกรรมภายในสังคมใดสังคมหนึ่ง ดังเช่น  การทำวิจัยของฟลีเกลและเคฟลิน  (Fliegel and Kivlin,  1966)  ซึ่งได้ศึกษาอัตราความเร็วของการยอมรับนวัตกรรมทางการทำฟาร์มโคนมในรัฐเพนซิลวาเนีย  ของเจ้าของฟาร์มจำนวน 229 คน ปรากฏว่า  นวัตกรรมที่มีผลทำให้ผลผลิตของเจ้าของฟาร์มเพิ่มขึ้น  ทำให้มีรายได้มากขึ้นและไม่เสี่ยงต่อสุขภาพความปลอดภัยของโคนม  มีอัตราการยอมรับในหมู่เจ้าของฟาร์มเร็วมาก  นวัตกรรมที่ยากต่อการใช้  มองไม่เห็นผลอย่างชัดเจนพอ  มีอัตราการยอมรับช้าและนวัตกรรมที่สามารถผสมกลมกลืนกับความเชื่อและค่านิยมของเจ้าของฟาร์ม  มีอัตราการยอมรับเร็วเช่นเดียวกัน
                        2.  การศึกษาว่าด้วยอัตราความเร็วของการตอบรับนวัตกรรมในสังคมหลาย ๆ แห่ง ตัวอย่างงานวิจัยประเภทนี้ก็เช่น  งานของ  โคฮีเนอร์  (Coughenour,  1964)  ผู้ซึ่งศึกษาถึงอัตราการยอมรับนวัตกรรมทางการเกษตรของชาวนา 12 ตำบลในรัฐเคนทักกี ปรากฏว่า ชาวนาในบางตำบลยอมรับนวัตกรรมหลายอย่าง ๆ ในขณะเดียวกันและด้วยอัตราการยอมรับที่สูง  ในบางตำบลก็ยอมรับได้ช้ากว่าและจำนวนนวัตกรรมก็น้อยกว่ามาก  โคฮีเนอร์  พบว่า  ตัวแปรพวกระดับการศึกษาของชาวนาในแต่ละตำบล  ความคุ้นเคยกับสื่อมวลชน  ตลอดจนอิทธิพลของสื่อมวลชนต่อผู้นำในตำบล  มีอิทธิพลต่อความเร็วของการยอมรับนวัตกรรมที่ต่างกันในแต่ละตำบล
                        3.  การศึกษาคุณสมบัติของนวัตกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของนวัตกรรมกับการยอมรับนวัตกรรมของเป้าประชากร  เคฟลินและฟลีเกล  (Kivlin and Fliegel, 1967)  ได้ทำการวิจัยประชากร 2 กลุ่ม  คือ  กลุ่มชาวนาที่มีที่ดินและกิจการปานกลางกับกลุ่มชาวนาที่มีกิจการต่ำกว่าระดับปานกลาง  ผลปรากฏว่า  ชาวนามีกิจการเล็ก ๆ  จะยอมรับนวัตกรรมด้วยอัตราความเร็วที่ช้ากว่าชาวนาที่มีกิจการปานกลางและชาวนาที่มีกิจการเล็ก ๆ  นี้จะยอมรับนวัตกรรมที่ช่วยทุ่นแรง  ในขณะที่ชาวนาที่มีกิจการปานกลางจะมองนวัตกรรมที่ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มและให้กำไรกับพวกเขาก่อนอื่น และตัดสินยอมรับนวัตกรรมที่มีคุณลักษณะดังกล่าวด้วย
                        4.  การศึกษาลักษณะของผู้นิยมนวัตกรรม  (Innovativeness)  ด้อยชมานและฟอคส์ บอร์ดา  (Deutschmann and Berda, 1962)  พบว่า  ลักษณะของผู้ที่นิยมนวัตกรรมในสังคมหลาย ๆ แห่ง  และต่างวัฒนธรรมกัน  กลับมีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาด  ลักษณะดังกล่าวก็คือ ระดับการศึกษาที่สูงความเป็นผู้มีจิตใจที่กว้างขวาง  ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี
                        5.  การศึกษาถึงการรับรู้นวัตกรรมในระยะแรกของเป้าประชากร  กรีนเบอร์ก (Greenberg,  1964)  ศึกษาถึงการรับรู้ข่าวการลอบสังหารประธานาธิบดีเคเนดี  โดยพิจารณาว่าประชาชนรู้อะไรบ้าง  ในระยะแรกรู้เมื่อไรและรู้โดยวิธีใด  เป้าประชากรของกรีนเบอร์กก็คือ  คนที่อยู่ในเมืองแคลิฟอร์เนีย  จำนวน 419 คน  ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มแรกคือ พ วกรู้ข่าวเร็วกว่าคนอื่น ๆ อีกกลุ่มคือ  พวกรู้ข่าวช้ากว่ากลุ่มแรก  ผลปรากฏว่า  พวกที่รู้ข่าวเร็วนั้นรู้ข่าวโดยการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์  ส่วนพวกที่รู้ข่าวล่าช้ากว่าคนอื่นรู้ข่าวจากการบอกเล่าปากต่อปาก
                                    กรณีการรับรู้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น  แม้ครูจะรับรู้และเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนการสอน  มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับนักเรียนแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าครูส่วนใหญ่มักไม่นำนวัตกรรมนี้มาใช้ในการเรียนการสอนประจำวัน  เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ครูจะต้องมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนแบบดั้งเดิมของตัวเอง  ซึ่งจะต้องมีการดูแลช่วยเหลือปรับโครงสร้างการทำงาน  ให้ครูสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในวิถีการดำเนินงานประจำวันด้วย
                        6.  การศึกษาถึงอิทธิพลของผู้นำต่อการเผยแพร่นวัตกรรม  นวัตกรรมที่สร้างขึ้นจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวในการเปลี่ยนสังคม  ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวกลางการเปลี่ยนแปลงในการที่จะทำให้ผู้นำในชุมชนนั้น ๆ ให้ความร่วมมือกับตนอย่างเต็มที่  ยกตัวอย่างเช่น  โรเจอร์สและแวน  (Rogers and Van Es,  1964)  ได้ทำการศึกษาผู้นำในชุมชน 5 แห่ง  วิเคราะห์ดูคุณสมบัติ
                        7.  ลักษณะของการสื่อสารที่ใช้กระบวนการเผยแพร่  ตัวอย่างของงานวิจัยประเภทนี้   คืองานวิจัยของไรอันและกรอส  (Ryan and Grass, 1943)   ที่ศึกษาถึงการเผยแพร่พันธุ์ข้าวโพดผสมในหมู่ชาวไร่ข้าวโพดในรัฐไอโอวา  ผลการวิจัย  ปรากฏว่าส่วนใหญ่ได้ข่าวเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวโพดจากนายหน้า  แต่การชักจูงให้เกิดการยอมรับนำเอาพันธุ์ข้าวโพดมาปลูกนั้น  เป็นผลงานของบรรดา
เพื่อนบ้านใกล้เคียง  ไรอันและกรอส  เป็นนักวิจัยกลุ่มแรกที่แบ่งขั้นการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมตามขั้นตอนความคิดของมนุษย์  (Mental Stages)
                        8.  ผลกระทบจากการใช้นวัตกรรม  ชาร์ป  (Sharp, 1952)   ได้ทำการศึกษาการใช้ขวานเหล็กแทนขวานที่ทำด้วยหินของชาวเผ่าเยอร์ โยรอนท์  (Yir Yeront)  ในออสเตรเลีย  ตามปกติแล้วชาวเผ่าเยอร์ โยรอนท์จะใช้ขวานที่ทำด้วยหิน  โดยผู้ใช้เป็นผู้หญิงและเด็ก  แต่เจ้าของคือพวกผู้ชายสูงด้วยวัยผู้หญิงและเด็กจะขอยืมขวานหินจากผู้ชายเมื่อต้องการใช้  ดังนั้น  จึงมีความผูกพันอยู่กับพวก
เหตุผลในการศึกษาทฤษฎีการเผยแพร่
            การศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  ในการเผยแพร่นวัตกรรมในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษานั้น  มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการ  ได้แก่
                        1.  นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องการทราบว่า  ทำไมผลผลิตของพวกเขาจึงเป็นที่ยอมรับ   หรือไม่เป็นที่ยอมรับก็ตาม  ในความเป็นจริงแล้วก็เหตุผลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของความสำเร็จ  และความล้มเหลวของการเผยแพร่ให้ผู้ยอมรับและนำไปใช้นั้นยิ่งเป็นสิ่งลึกลับ  คำตอบที่ชัดเจนยังไม่มี  และคำตอบของสังคมหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบเดียวกันกับสังคมอื่นๆ  และยังมีเทคโนโลยีการศึกษาที่  ได้รับการยอมรับที่ดีจากที่อื่นๆ  แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากอีกสังคมหนึ่ง  เทคโนโลยีการศึกษา
                        2.  เทคโนโลยีทางการศึกษาที่มาจากการเป็นนวัตกรรมมาก่อน  ผลผลิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาโดยนักเทคโนโลยีการศึกษา  เป็นการสืบสานทางนวัตกรรมในกระบวนการของการสอนทั้งในด้านของรูปแบบการจัดการขั้นตอนและการนำเสนอ  นักเทคโนโลยีการศึกษาที่เข้าใจในตัวของนวัตกรรมเอง  และทฤษฏีที่ใช้ในการเผยแพร่นวัตกรรมจะทำให้สามารถเตรียมตัวและเตรียมงานการเผยแพร่ให้กับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (Schiffiman,  1991)
                        3.  การศึกษาทฤษฏีการเผยแพร่วัตกรรมจะนำไปสู่การเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นระบบสร้างรูปแบบของการเผยแพร่  และรูปแบบของการยอมรับนวัตกรรมขึ้น  นักเทคโนโลยีการศึกษายอมรับกระบวนการของการนำเข้าสู่ระบบ  (System Approach)  และมีรูปแบบของระบบที่ได้จากทฤษฏีการเผยแพร่นวัตกรรมมากมายที่ใช้เป็นแนวทางของกระบวนการในการพัฒนาการสอน (Instructional Development หรือ ID)  รูปแบบของกระบวนการพัฒนาการสอนได้ใช้ในการออกแบบและพัฒนาวิธีการเรียนรู้โดยการนำเข้าสู่ระบบอย่างมีประสิทธิภาพมากมายเหล่านั้น  เป็นที่มาของการเกิดเป็นวัตกรรมศึกษาขึ้น  รูปแบบเชิงระบบของการเผยแพร่นวัตกรรมก็จะช่วยเป็นแนวทางของกระบวนการเผยแพร่นวัตกรรมการศึกษา  และสร้างการยอมรับนวัตกรรมศึกษาและผลผลิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษากับผู้ใช้เช่นเดียวกัน  และหวังว่ารูปแบบเชิงระบบในการผลิตผลงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะทำให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันด้วย
4.ทฤษฏีการเผยแพร่  (Diffusion  Theories)
            ต้นกำเนิดของการศึกษาวิจัยเรื่องการเผยแพร่และการยอมรับนวัตกรรมมีมานาน  ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์  เพาะมนุษย์เป็นสิ่งที่การถ่ายทอดความรู้และยอมรับนวัตกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งมาโดยตลอด  แต่การศึกษาเรื่องการเผยแพร่อย่างเป็นระบบนั้นพอสรุปได้  ดังนี้
            ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษ 19  (1900s)  Gabriel  trade  เป็นนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสมีอาชีพ
เป็นผู้พิพากษา  ถึงแม้ว่าเขาไม่ได้รับการศึกษาจากระบบโรงเรียน  เขาก็เป็นนักวัตกรรมและมีหัว
ก้าวหน้าในสมัยนั้น  เขาได้สังเกตการถ่ายทอดและการเผยแพร่วัตกรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งเขาเรียกว่า  กฎของการเลียนแบบ  (Law of Lmitation)  ซึ่งปัจจุบันแล้วเรียกว่า  การยอมรับนวัตกรรม (The Adoption of Innovation)
            ในช่วงปีคริสต์ศตวรรษที่ 1992-50  Bruce Ryan  และ  Neal Gross  ทั้งสองเป็นผู้เริ่มใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาการเผยแพร่นวัตกรรม  Neal Gross  จบปริญญาได้วุฒิ  Ph.D.  สาขาวิชาสังคมวิทยา  (Sociology)  จาก  Lowa State University  ในปี ค.ศ. 1946  เป็นนักวิจัยให้กับ Lowa State University  ระหว่าง ค.ศ. 1946 – 1948 และย้ายไปเป็นอาจารย์ที่ University of Minnesota ระหว่างปี ค.ศ. 1948 – 1951 ก่อนจะย้ายไปเป็นอาจารย์ที่  Harvard University  ส่วน  Bruce Ryan  ไม่สามารถค้นประวัติได้
            ในช่วงปีคริสต์ศตวรรษที่ 1960S มีกลุ่มนักมานุษยวิทยาเกิดขึ้นในอังกฤษ  เยอรมันนีและออสเตรเลีย  (The British and German-Austrian Diffusionists)  ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเผยแพร่ทัศนะของนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในประเทศเหล่านั้น  เหมือนกันและยังเป็น       รากฐานของการวิจัยทางด้านการเผยแพร่  โดยพวกเขาอธิบายว่า  การเปลี่ยนแปลงในสังคมใดสังคมหนึ่งนั้น  เกิดจากการรับเอานวัตกรรมมาจากอีกสังคมหนึ่ง  (Rogers,  1995,  p.41)
            ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น  เกิดจากการผสมผสานทฤษฎี  หลักการและความรู้  ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวกับการเผยแพร่  แต่ละศาสตร์จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้น ๆ  ผลจากการรวบรวมกระบวนการ  วิธีการ  ทฤษฎีและการเผยแพร่ของศาสตร์ต่าง ๆ นำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้นและเป็นทฤษฎีที่ไม่บ่งชี้เฉพาะว่า  ใช้สำหรับการเผยแพร่นวัตกรรรมของสาขาวิชาหรือศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งโดยเฉพาะ  เหตุผลที่ว่าทำไมทฤษฎีการเผยแพร่ถึงไม่มีความเฉพาะ  เนื่องจากการเผยแพร่นวัตกรรมนั้นมีในทุกสาขาวิชาและทุกศาสตร์ Rogers (1995)  ได้อ้างผลการศึกษาในปี  ค.ศ. 1943 โดย Ryan  และ Gross  ที่มหาวิทยาลัย Lowa State (Lowa State University)  ที่ได้ให้ต้นกำเนิดของการวิจัยด้านการเผยแพร่แนวใหม่ Ryan และ Gross (1943)  ได้ทำการศึกษาจากสาขาวิชาด้านสังคมชนบท โดยการใช้การสัมภาษณ์ผู้ยอมรับและการใช้นวัตกรรมและทำการตรวจสอบกับปัจจัยที่ทำให้เกิดการยอมรับและใช้นวัตกรรมศึกษา  กระบวนการสัมภาษณ์ที่  Ryan  และ Gross  ใช้ในการศึกษา  จึงเป็นแบบแผนที่ใช้เป็นแบบอย่างของการศึกษาวิจัยเรื่องการเผยแพร่นวัตกรรมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  (Rogers,   1995)  นักวิจัยอื่นๆ ก็ใช้
วิธีการนี้ในการศึกษาและสร้างเป็นทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมกันต่อ ๆ มา
            นักวิจัยที่ทำการศึกษาและสังเคราะห์ผลการวิจัยต่าง ๆ แล้วนำมาสร้างเป็นทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับคือ  ในหนังสือของเขาชื่อ  Diffusion of Innovations  ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1960  และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003  ได้มีการพิมพ์เป็นครั้งที่ 5  การพิมพ์ครั้งนี้ได้จัดพิมพ์เล่มและอยู่ในรูปของ  Digital  ที่เป็น E-Book  แล้ว  สามารถสั่งซื้อจาก  Website  โดยการ Down Load  มาได้เลยเมื่อจ่ายค่าหนังสือแล้ว  หนังสือของ  Rogers  ได้เสนอทฤษฎีที่เริ่มมีความชัดเจนขึ้นสำหรับงานการเผยแพร่นวัตกรรมมากที่สุด  และเป็นรากฐานของการพัฒนาทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรม  ดังต่อไปนี้
                        1.  ทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรม  (The Innovation Decision Process Theory)  ทฤษฎีนี้  Rogers  (1995)  ได้ให้คำอธิบายว่า  การเผยแพร่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในช่วงของเวลาหนึ่งที่มีขั้นตอนของการเกิด 5 ขั้น  ได้แก่
                                    1.1  ขั้นของความรู้  (Knowledge)
                                    1.2  ขั้นของการถูกชักนำ  (Persuasion)
                                    1.3  ขั้นของการตัดสินใจ  (Decision)
                                    1.4  ขั้นของการนำไปสู่การปฏิบัติ  (Implementation)
                                    1.5  ขั้นของการยืนยันการยอมรับ  (Confirmation)
                        ทฤษฏีนี้เริ่มจากผู้ที่มีศักยภาพที่จะรับนวัตกรรมได้เรียนรู้กับนวัตกรรมนั้น  จนมีความรู้ความเข้าใจในนวัตกรรมอย่างดี  และถูกชักนำโน้มน้าวให้เชื่อถือจากคุณงามความดีของตัวนวัตกรรมนั้น  หลังจากนั้นมีการตัดสินใจว่าจะรับเอานวัตกรรมนี้มาใช้  เมื่อตัดสินใจก็ลงมือ
                        ปฏิบัตินำเอานวัตกรรมสู่การปฏิบัติและขั้นสุดท้ายคือ  การยืนยัน (หรืออาจปฏิเสธ) 
การตัดสินใจยอมรับและใช้นวัตกรรมนั้นต่อไป  ทฤษฎีนี้ใช้อ้างในการศึกษากระบวนการเผยแพร่นวัตกรรมนั้นอย่างแพร่หลาย  ในกลุ่มของนักเทคโนโลยีการศึกษา
                        ดังนี้  Sachs  (1993,  p. l)  ได้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า  หลังจากที่ได้ศึกษาวรรณคดีที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาของเราแล้ว  จะพบความประทับใจอย่างหนึ่งว่า  สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เราต้องรู้ไว้เกี่ยวกับการชวนให้ใช้นวัตกรรมหรือการที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างให้ดีขึ้นนั้น  จะมีขั้นตอนอยู่  5 ขั้น 
ที่เป็นกระบวนการของการยอมรับนวัตกรรม   การที่ Sachs  สรุปได้อย่างนั้น  ทฤษฏีนี้ได้เป็นที่รู้จักการแพร่หลายมาก
                        2.  ทฤษฎีความเป็นนวัตกรรมในเอกัตบุคคล  (The individual innovativeness theoryroges (1995)  ได้อธิบายว่า  บุคคลที่ได้รับกล่อมเกลาให้เป็นนักนวัตกรรมจะยอมรับนวัตกรรม 
จะยอมรับนวัตกรรมเร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้รับหรือรับการกล่อมเกลามาน้อย  ดังภาพที่ 1  กราฟรูประฆัง แสดงการกระจายข้อความเป็นนวัตกรรมในเอกัตบุคคลและเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีศักยภาพในการ
ยอมรับนวัตกรรม  ตามทฤษฎีนี้แยกความเป็นนวัตกรรมในเอกัตบุคคลออก
                                    -  กลุ่มไวต่อการรับนวัตกรรม  (Innovators)
                                    -  กลุ่มแรกๆที่รับนวัตกรรม  (Early  adopters)   
                                    -  กลุ่มใหญ่แรกที่รับนวัตกรรม  ( Farly  maicoity)
                                    -  กลุ่มใหญ่ที่หลังรับนวัตกรรม  ( Late  majority)
                                    -  กลุ่มสุดท้ายที่รับนวัตกรรม  (Laggards)
                        ทฤษฎีนี้แสดงให้เห็นการกระจายตัวของกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรม  โดยกลุ่ม  Innovators  จะเป็นกลุ่มที่รับนวัตกรรมทันที  คนกลุ่มนี้มีลักษณะกล้าเสี่ยงและมีความเป็นนักนวัตกรรมสูงจึงมีความพร้อมที่จะย่อมรับและมีศักยภาพที่จะรับได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งจะมีเพียง 2.5%  ของคนทั้งหมดที่จะใช้นวัตกรรมนั้น  ต่อมาเป็นกลุ่ม  Early Adopters  กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยังมีความเชื่องช้าในการรับนวัตกรรมกว่าพวกแรก  แต่เป็นกลุ่มที่ไวต่อการรับนวัตกรรมหลังจากทราบว่ามีกลุ่ม  Innovators  ได้ยอมรับไปแล้ว  กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มแรกๆ  ตามมาที่ยอมรับนวัตกรรม  ซึ่งจะมีประมาณ  13.5%  ส่วนกลุ่ม  Early majority  และกลุ่ม  Late majority  มีกลุ่มละเท่าๆ กัน  รวมเป็น 86%   กลุ่มแรกจะรับนวัตกรรมก่อนกลุ่มหลัง  แต่เมื่อรวมกันแล้วเป็นกลุ่มใหญ่ที่จะทำให้เห็นนวัตกรรมได้ถูกนำไปสู่การ ปฎิบัติในสังคม  กลุ่มนี้จะดูทีท่าและทิศทางก่อนเมื่อเห็นว่าการยอมรับนวัตกรรมเกิดจากประโยชน์จึงตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมและกลุ่มสุดท้าย  Laggards  มีจำนวน 16%  เป็นกลุ่มที่ต่อต้านนวัตกรรม ถ้าจะยอมรับอย่างเสียมิได้หรือมิอาจ  จะไม่ยอมรับเลยตลอดไป
                        3.  ทฤษฏีอัตราการยอมรับ  (The theory of rate of adoption)  rogers  (1995)  ได้อธิบายทฤษฎีนี้ไว้ว่า  เป็นการเผยแพร่นวัตกรรมในช่วงเวลาอย่างเป็นแบบแผน  เขียนกราฟเป็นรูปตัว S  ทฤษฎีนี้แสดงให้เห็นว่า  นวัตกรรมจะได้รับการยอมรับผ่านช่วงของระยะเวลาอย่างช้าๆ  แบบค่อยเป็นค่อยไป และจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและจะชะลอตัวอีกครั้ง   ภาพที่ 2  แสดงการยอมรับของนวัตกรรมเป็นรูปตัว S  ทฤษฎีนี้ยังกล่าวอีกว่า  หลังจากผ่านช่วงของการเติบโตอย่างรวดเร็ว  จะมีการชะลอตัวลงและคงที่อยู่หรือตกลงมาได้อีกด้วย     
                        เวลาช่วงเริ่มต้นของการเผยแพร่นวัตกรรม  จะมีการยอมรับนวัตกรรมน้อย  เส้นกราฟจะอยู่ต่ำและค่อย ๆ สูงขึ้น และเมื่อถึงช่วงเติบโตการยอมรับจะมีมากและเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วย
หลังจากนั้นจะเริ่มช้าลงและมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการยอมรับนวัตกรรมลดลงอีกด้วย  และถึงคราวที่ต้องมีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นอีกเป็นอย่างนี้ต่อ ๆ ไป  และก็จะมีการเติบโตแบบตัว S เช่นเดียวกัน
ซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ           
                        4.  ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติ  (The  theory of perceibutesrogers  (1995) 
ได้ขยายความทฤษฎีนี้ไว้ว่า  กลุ่มผู้มีศักยภาพในการยอมรับนวัตกรรม  ตัดสินใจรับโดยใช้ฐานของการรับรู้  รับทราบถึงคุณสมบัติของนวัตกรรม  ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ  ได้แก่
                                    4.1  นวัตกรรมนั้นสามารถทดลองใช้ได้ก่อนการจะยอมรับ  (Trilability)
                                    4.2  นวัตกรรมนั้นสามารถสังเกตผลที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน  (Obscervability )
                                    4.3  นวัตกรรมนั้นมีข้อดีกว่าหรือเห็นประโยชน์ได้ชัดเจนกว่าสิ่งอื่น ๆ มีอยู่ใน
ขณะนั้นหรือสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน  (Relative Advantage)
                                    4.4  ไม่มีความซับซ้อนง่ายต่อการนำไปใช้  (Complexity)
                                    4.5  สอดคล้องกับการปฏิบัติและค่านิยมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น  (Compatibility)
                        ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติของนวัตกรรม  ได้นำไปใช้ในการศึกษาการเผยแพร่  และการยอมรับเอานวัตกรรมไปใช้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นอย่างมาก  จากการศึกษา
พบว่า  Compatibility,  Complexity  และ  Relative Advantage  มีอิทธิพลอย่างมากในการยอมรับเอานวัตกรรมทางด้านการสอนและเทคโนโลยีการสอนไปใช้  Wyner (1974 )   และ  Holloway  ( 1977 )  พบว่า  Relative Advantage  และ  Compatibility  มีอิทธิพลอย่างมาก  ต่อผู้ที่มีศักยภาพในการยอมรับนวัตกรรมในด้านของเทคโนโลยีทางการสอนในโรงเรียนระดับมัธยมปลาย  Eads (1984 )  พบว่า  การตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมการฝึกอบรม  โดยการใช้คอมพิวเตอร์ของนักพยากรณ์อากาศนั้น  มีอิทธิพลจากคุณสมบัติของตัวนวัตกรรมในด้าน  Relative Advantage Complaxity  และ  Compatibility วิเคราะห์ทฤษฎีที่นำไปใช้ในการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
            มีนักวิจัยจำนวนหนึ่งได้พยายามใช้ทฤษฎีการเผยแพร่ที่กล่าวมาแล้ว  นำไปใช้กับการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  อย่างไรก็ตาม  ทฤษฏีดังกล่าวข้างต้น  ต่างก็เป็นที่ยอมรับว่าสามารถนำมาใช้ในการอธิบายการเผยแพร่และการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาได้
ทั้งสิ้น  ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นเมื่อนำมาวิเคราะห์และศึกษาปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังของทฤษฎีดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
            กลุ่มทฤษฎีมหภาคและจุลภาค   (Macro  and  micro  theories)
                        การประยุกต์ทฤษฎีการเผยแพร่  เพื่อนำไปใช้กับงานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่  กลุ่มมหภาคและกลุ่มจุลภาค  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายของแต่ละกลุ่ม
แตกต่างกันดังนี้
                        1.  Macro  Theories  หรือกลุ่มมหภาค  กลุ่มนี้เน้นเรื่องของการปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบของสถาบันการศึกษาและการจัดการศึกษา  เป้าหมายของกลุ่มนี้เพื่อต้องการศึกษาวิธีการในการเผยแพร่แนวคิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร  ซึ่งหมายถึงสถานศึกษาในระดับต่างๆ ที่เทคโนโลยีเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ตัวอย่างของการศึกษาวิจัยในกลุ่มนี้  ได้แก่ผลการศึกษาของ  Reigeluth (1987)  เรื่อง  Thirdwave Educational System  รายงานการศึกษาของ  Center for Educational Technology  (1989)  เรื่อง  The School Year 2000 Model  และผลการศึกษา  เรื่อง  The New  America School is Development Corporation (Nasdc)  (Mehlinger  1995)  ส่วนในประเทศไทย  ได้แก่  ผลการศึกษาของสำนักงานขณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติจำนวนมาก  ที่
กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างของการบริหารจัดการศึกษาของไทย  ในช่วงปฏิรูปการศึกษา  ทฤษฎีที่กล่าวถึงในการศึกษาวิจัยเหล่านี้  มักจะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ  ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับการยอมรับนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีไปสู่การปฏิบัติในแบบกว้างๆ 
ด้วยเหตุนี้เอง  ทฤษฎีที่นำมาใช้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ  ซึ่งมีผลกับแนวคิดและโครงสร้างขององค์กร  จึงจัดไว้ในกลุ่มของทฤษฎีการเผยแพร่เทคโนโลยีการศึกษาแบบมหภาค 
                        2.  Micro  Theories  หรือกลุ่มจุลภาค  กลุ่มนี้เน้นการยอมรับและการนำผลผลิต  ความคิดหรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาไปใช้ในกลุ่มเป้าหมาย  จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยในกลุ่มนี้  เพื่อต้องการพัฒนาทฤษฏีที่เกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยี  เพื่อการหาวิธีที่ดี
ที่สุดในการนำไปสู่การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้แพร่หลายมากที่สุด  รวมทั้งการเข้าใจถึงกระบวนการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้วย  ตัวอย่างของการศึกษาการยอมรับและนำไปใช้ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา  ได้แก่  การศึกษาของ  Burkman (1987) เรื่อง  User-Oriented Instructional Development (Uoid)  Process  การศึกษาของ  Tessmer (1990)  เรื่อง  Environmental Analysis  การศึกษาของ  Farquhar and Surry  (1994)  เรื่อง  Adoption Analysis และเรื่อง  Technological Imperrative Model ของ Schneberger and Jost (1994)  ส่วนในประเทศไทย  ได้แก่ 
            การทดลองใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ  (Intelligent Classroom)  กับโรงเรียนประถมและมัธยมในจังหวัดนครพนม  เพื่อคาดหวังจะให้เกิดการยอมรับและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง  ทฤษฎีที่ใช้ในกลุ่มนี้ไม่เน้นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างหรือระบบในแนวกว้าง  แต่เน้นการรับนวัตกรรมและนำไปใช้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะกับผู้ที่มีศักยภาพในการรับนวัตกรรมนั้นๆ  ได้เท่านั้น  ด้วยเหตุนี้จึงจัดกลุ่มของทฤษฎีนี้อยู่ในกลุ่มจุลภาค
                                    กลุ่มทั้งสองกลุ่มนี้  ได้ทำการศึกษาการใช้ทฤษฎีเผยแพร่เพื่อให้เกิดการยอมรับและเปลี่ยนแปลง  ถ้าเป็น Macro Theories มีจุดประสงค์เพื่อจะเป็นการเปลี่ยนระบบ  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  Systemic Change Theories  ส่วน Micro Theories มีจุดประสงค์เพื่อจะเน้นการยอมรับผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษาไปใช้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Product Utilization Theories  ซึ่งจุดประสงค์ของทฤษฎีมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัดในสองกลุ่มนี้  ส่วนปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังของแนวคิดสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันเช่นกัน  ในกลุ่มของ Systemic Change Theories  เป็นการยึดปรัชญาในแบบ Technological Determinism  ส่วนกลุ่มของ  Product Utilization  Theories  เป็นการยึดปรัชญาในแบบของ Technological Instrumentalism  เพื่อให้เป็นการเข้าใจง่ายขึ้น  จึงขอเรียกผู้ที่ยึดปรัชญาในกลุ่ม Technological Determinism ว่า Developer (Determinist) และเรียกผู้ที่ยึดปรัชญาในกลุ่ม Technological Instrumentalism ว่า Adopter (Instrumentalist) ซึ่งจะกล่าวถึงปรัชญาของทั้งสองกลุ่มดังนี้
                        กลุ่มปรัชญาแบบ  Determinist  และแบบ  Instrumentalist
                                    Determinist  หรือ  Developer  หมายถึง  ผู้ที่เป็นที่กำหนดบทบาท  เล็งเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการยอมรับและนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้  และทำให้เกิดผลแห่งการเปลี่ยนแปลง มุมมองของ  Determinist  นั้น  มองเทคโนโลยีว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอิสระเกินกว่าที่มนุษย์จะควบคุมได้ และมองว่าเทคโนโลยีเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม  (Chandler,   1995
            ผู้นิยมในปรัชญานี้มองว่า  การขยายตัวของเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ ไม่ต่อเนื่อง เป็นการสร้างกระบวนการปฏิรูป  ปฏิวัติ  แต่มีการเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ อยู่ตลอดเวลา  เป็นอนุกรมของการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดไปข้างหน้า  ผู้ที่ได้รับการกล่าวอ้างว่าเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้  ได้แก่  Toffler  ผู้แต่ง หนังสือเรื่อง  Future Shock   และ  The Third Wave  โดยที่  Toffler  ได้แสดงถึงการเป็นนักปรัชญาในกลุ่ม Determinist เมื่อเขาได้ยกตัวอย่างการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ดังนี้  “Behind such prodigious economic facts lies the great growing engine of change-technology”  (หนังสือ Future Shock หน้า 25)  นอกจากนั้น  เขาได้กล่าวถึงไว้ด้วยว่า  เทคโนโลยีเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม  เขาได้กล่าวไว้ว่า  “Technology  is   indisputably a major force  behind this accelerative  thrus”  (หนังสือ  future shock หน้า 25)  และเสริมอีกว่า  By now the accelerative thrust triggered by man has become the key to the entire evolutionary process of the planet”  (หนังสือ  Future Shock หน้า  485)
            กลุ่ม  Determinist  เชื่อว่า  เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  แต่ในกลุ่มนี้ก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันอีกในเรื่องของคุณงามความดีของเทคโนโลยี  โดยกลุ่มหนึ่งเรียกว่า  กลุ่ม  Utotian  Determinist  นิยมในความดีงามของเทคโนโลยี  ส่วนกลุ่ม  Dystotian  Determinist  ไม่ชื่นชมเทคโนโลยี  แต่กับมองผลเสียของเทคโนโลยีมากกว่า  (Kaplan;   1996)
            กลุ่ม Utopian Determrnrst  เชื่อว่า  เทคโนโลยีเป็นพลังผลักดันไปสู่สิ่งที่ดีงาม  ขจัดสิ่งที่ขัดขวางความสุขความเจริญของมนุษย์ได้  เทคโนโลยีเป็นตัวนำสังคมไปสู่ความผาสุกของมวลมนุษย์ชาติ  ผู้ที่อยู่ในกลุ่มของ  Utopian  ได้แก่  warshall  wcLuhan  และ  Alvrn  Toffler
            กลุ่ม  Dystopian Determinist  เชื่อว่า  เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาอย่างชั่วร้าย  มีพลังขับ  และชักนำในการทำลายคุณความดี  ปัญญา  และร่างกายของมนุษย์ชาติ  ผลงานของ  Jacques Ellul  (1964)  เรื่อง  The technologrcal Sociecy  เป็นตัวอย่างของการแสดงให้เห็นถึงผลร้ายของเทคโนโลยีและจุดยืนของกลุ่ม Dystopian อีกคนหนึ่ง  ได้แก่  George Orwell (1949)  ได้แต่งนิยายที่แสดงถึง    ผลร้ายของเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษย์  เรื่อง  1984

กลุ่มปรัชญา
แนวคิดเชิงปรัชญาของกลุ่ม
คนในกลุ่ม
ตัวอย่างงานด้าน
เทคโนโลยีการศึกษา
Utopian 
Determinism
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้มีพลังอิสระในการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ความผาสุขของมนุษยชาติ
Karl Marx
Marshall McLuhan
Alvin Toffler
RDD Paradigm
ID Models Systemic
Change
Dystopian
Determinism
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาอย่างชั่วร้าย  เป็นพลังชักนำไปสู่ความเลวร้ายและทำร้ายความเป็นมนุษย์
Jacques Ellul
Georigr Orwell
Chhange
Resistors
Instrumentalism
เทคโนโลยีอยู่ที่การควบคุมและการใช้ของมนุษย์ทีจะเกิดผลดีหรือผลร้าย
Daniel Chandler  Paui Levinson   Donal MacKenzie
Ernest Burkman

            ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่ม  Determinist  คือ  กลุ่มของ  Instrumentalist  ความคิดกลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มของ  Determinist  ที่ได้ชัดเจนคือ  กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีได้  โดยถือว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ  กลุ่มนี้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเทคโนโลยีกับมีดอยู่เสมอ  (Levinson 1996)  มีดเป็นเครื่องมือและเทคโนโลยีอื่นๆ  ทั้งหมดเป็นเครื่องมือขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะใช้มันไปในทางให้เกิดประโยชน์หรือให้เกิดโทษ  และขณะที่กลุ่ม Determinst  เชื่อว่า  เทคโนโลยีเป็นตัวขับดัน  เป็นแรงผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  แต่กลุ่มนี้เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในสังคมนั้นเกิดจากเงื่องไขและความต้องการของสังคมเป็นสำคัญ  ถ้ามีความปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงก็จะเปลี่ยนได้  ถ้าไม่ต้องการ ก็ไม่เปลี่ยนแปลงได้  สาเหตุอยู่ที่  คน  ไม่ใช่  เทคโนโลยี  ความแตกต่างอีกประการหนึ่งของกลุ่ม  Instrumentalist  นี้คือ  เขามองว่าเทคโนโลยีมีกระบวนการของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เป็นกระบวนการของการวิวัฒนาการควบคู่ไปกับสังคมไม่ใช่สิ่งที่เข้ามาเป็นช่วง ๆ  อยู่ตลอดเวลาที่มีลักษณะเป็นอนุกรมของสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  แล้วทำให้เกิดการก้าวกระโดดในการเปลี่ยนแปลงอย่างที่กลุ่ม  Determinist  เชื่อถือ  (Levinson;   1996)   กลุ่ม  Instrumentalist  มีทัศนะต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีว่ามีการเพิ่มขึ้นแบบสะสมตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นไป
            จากการวิเคราะห์ปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังทฤษฎี  และกลุ่มความเชื่อของผู้อยู่ในกลุ่มปรัชญาต่าง ๆ  สามารถนำมาเขียนเป็นตารางแสดงลักษณะการศึกษาผลงานการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาได้ 4  ด้านด้วยกัน ดังรูปที่  4  และนำไปสังเคราะห์เป็นทฤษฎีการเผยแพร่ต่อไป

Philosophy
Systemic Change (macro)
product Utilization  (micro)
 Developer
(Determinist)
เน้นศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง และแบบแผนของการทำงาน
เน้นการออกแบบ พัฒนาและประเมินผลผลิตทางด้านเทคโนโลยีศึกษา
Adopter
(Instrumentalist)
จะเน้นสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อมของวิชาชีพในแต่ละหน่วยงานเป็นการเฉพาะ
เน้นความต้องการ ความเห็นของผู้ที่มีศักยภาพในการรับเทคโนโลยีและคุณลักษณะของหน่วยงานที่จะยอมรับเทคโนโลยีในแต่ละที่

            ภาพที่ 4 แสดงลักษณะงานวิจัยทางด้านการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
โดยมีการศึกษาเผยแพร่อยู่ 4 ด้าน
            ทฤษฎีที่สังเคราะห์ขึ้น  มี 2 ทฤษฏี  ดังนี้
                        1. Developer based  (Deterministic) theories  หลักการทฤษฏีที่ยึดการพัฒนาเป็นฐานคือ การเพิ่มการเผยแพร่ด้วยการทำให้นวัตกรรมนั้น  มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  เกิดประโยชน์ที่ได้
สูงสุด  ผู้พัฒนา  ผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีถูกมองว่าเป็นพลังงานสำคัญในการที่จะทำให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม  สมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง  ทฤษฏีที่ยึดการพัฒนา  เป็นฐานนั้นคือ
ความเชื่อของกลุ่ม Determinist  ที่เชื่อว่าเทคโนโลยีที่ดีกว่า  ระบบที่ดีกว่า  จะเข้าไปแทนเทคโนโลยีและระบบที่ด้อยกว่า  ทฤษฏีที่ยึดหลักการพัฒนาเป็นฐานในการเผยแพร่เล็งเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลังจากที่มีการรับเอาเทคโนโลยีเข้าไปและการปฏิรูปด้วยเทคโนโลยี
                        Developer based theories  ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาเชื่อว่า หนทางที่ดีที่สุดใน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาคือ  การสร้างระบบและผลผลิตที่มีคุณภาพดีกว่าผลผลิตหรือระบบที่มีอยู่เดิมผู้ที่มีศักยภาพในการรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี  ถูกมองว่าเป็นผู้ที่ได้รับการกล่อมเกลาให้เป็นนักนวัตกรรมและเป็นผู้ที่มีคุณภาพสูงกว่าผู้อื่น  การปฏิรูปการศึกษาโดยวิธีสั่งจากเบื้องบนลงมา (Top Down)  เช่น  โครงการ Goals 2000  เป็นตัวอย่างของการใช้ทฤษฎีการเผยแพร่ที่ยึดการพัฒนาเป็นฐาน  (Mehlinger,1995)  วิธีการสั่งลงมาจากเบื้องบนในการปฏิรูปการศึกษา  เป็นการเผยแพร่ระบบการจัดการศึกษา  โดยเสนอระบบที่ดีกว่าที่เป็นอยู่  โดยการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน 
มีโครงสร้างขององค์กรใหม่  ปรัชญาของการบริหารจัดการใหม่  ใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนใหม่มียุทธวิธีการจัดการกับงบประมาณใหม่  ซึ่งได้รับการรับรองหรือมีทฤษฎีรองรับว่าดีกว่าระบบและ
วิธีเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่  ซึ่งมีลักษณะและวิธีการเช่นเดียวกับการปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทย 
อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ Developer Based Theories  ในการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีคือ  รูปแบบของการพัฒนาการสอน (Instructional Development หรือ ID)  โดยตัวของทฤษฎีการเผยแพร่เองไม่เป็นส่วนหนึ่งในรูปแบบของการพัฒนาการสอน  (Andrews and Goodson;  1991
แต่กระบวนการของการยอมรับวัตกรรมอันเป็นผลจากการเผยแพร่นั้น  ถูกนำมาใช้ในกระบวนการพัฒนาการสอน  การใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่าเป็นหลักสำคัญของกระบวนการพัฒนาการสอน  Andrews  และ Goodson  (1991)   ได้ให้จุดมุ่งหมาย  4   ประการของการพัฒนาการสอนอย่างเป็นระบบไว้  ดังนี้
                                    1.  เพื่อให้มีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น  (Improved Learning)
                                    2.  เพื่อให้มีการจัดการที่ดีขึ้น  (Improved Management)
                                    3.  เพื่อให้มีการประเมินที่ดีขึ้น  (Improved Evaluation)
                                    4.  เพื่อให้มีการสร้างทฤษฏีใหม่  (Theory Building)
                        สามในสี่ของจุดมุ่งหมายนั้น  เพื่อการสร้างผลผลิตหรือเทคโนโลยีที่ดีกว่า  กระบวนการของการพัฒนาการสอนเชื่อว่าเทคโนโลยีที่เหนือกว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การยอมรับในการเผยแพร่ผลผลิตและวิธีการใหม่ ๆ  ซึ่งหมายถึงการทำให้เกิดการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การศึกษาต้องใช้ความเหนือกว่าทางด้านเทคโนโลยี

            ข้อจำกัดของ  Developer  Based  Theories
                        1.  ID  เป็นกระบวนการที่อยู่บนฐานของการวิจัย  (Research)  การพัฒนา  (Development)  และการเผยแพร่  (Diffusion)  เรียกย่อ ๆ ว่าเป็นกระบวนการ  RDD  หรือ  RDD Paradign (Burkm;   1987)  หนังสือที่แต่งโดย  Saettler  เรื่อง  A History of Instructional Technology  ตีพิมพ์ในปี 1968  ได้ให้แนวคิดในการดำเนินการตามกระบวนการของ  RDD ไว้  โดยเขาเขียนไว้ดังนี้
            In the educator sector, it is becoming increasingly apparent to scientifically oriented educators that education must discard the folklore approach to instruction and move forward to new frontiers, this includes the development of instructional systems based on behavioral science theory, research, and development.” (หน้า 270)
            การที่ Saettler บรรยายไว้  ทำให้เห็นจุดกำเนิดที่มีคุณค่าของ  RDD  คือ  การทอดทิ้ง “Folklore”  หรือวิธีการแบบดั้งเดิมทางการศึกษา  โดยนำเอาการพัฒนาอย่างเป็นระบบและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้  Saettler  ยังได้เขียนถึงระบบการทำงานของวิศวกรที่ใช้ในการดำเนินงานในภาคอุตสาหกรรมนั้น  เป็นรากฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรม  ตั้งแต่เริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา  เขายังกล่าวอีกว่า  หนึ่งในจำนวนการประยุกต์ความคิดเชิงระบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ  การพัฒนาระเบิดปรมาณู  (หน้า 269)
            เมื่อเป็นดังนี้แล้วทำให้มีข้อถกเถียงว่า  กระบวนการดังกล่าวที่สามารถใช้ในการพัฒนาระเบิดปรมาณูได้  ควรจะนำมาใช้ในการพัฒนาจิตใจมนุษย์  สร้างปัญญาให้มนุษย์ได้ไหม   การนำกระบวนการ  RDD  ไปสร้างผลผลิตที่เป็นเทคโนโลยีและกรรมวิธีต่างๆ  ดูเหมือนเป็นกระบวนการ
ที่สร้างความก้าวหน้าให้กับเทคโนโลยี  สิ่งที่ท้าทายอย่างใหญ่หลวงของเทคโนโลยีการศึกษา 
การพัฒนาผลผลิตที่ไม่จำเป็นต้องดีเลิศ  ประเสริฐ  วิเศษ  แต่เป็นการพัฒนาผลผลิตที่คนต้องการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ  Dal (1989,p. 22)  ได้เขียนไว้ว่า
            “although we can fill instructional gaps with fervor, we never seem to examine our solutions inlight of the implementations”  และ  Hall and Hord (1987)   ได้กล่าวว่า  ความล้มเหลวของโครงการปฏิรูปหลักสูตรครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในปีคริสต์ทศวรรษที่ 1960S  เป็นหลักฐานที่ชี้ชัดว่าเทคโนโลยีการสอนล้มเหลวในการที่จะทำให้เกิดการท้าทายในการนำไปใช้
            ข้อจำกัดสำคัญของทฤษฎีนี้และกระบวนการ  RDD  คือ  ความลำเอียงในเรื่องของความ
เชื่อว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดีงามเสมอ  มีการศึกษาและสำรวจการยอมรับและนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเดียวยังไม่เป็นที่ยืนยันได้ว่า  จะมีการยอมรับและนำไปใช้เกิดขึ้นได้อันที่จริงแล้วยังมีบางคนแย้งว่า  ความเหนือกว่า  ดีกว่าของเทคโนโลยีเป็นเงื่อนไขสำคัญ  อย่างน้อยก็ในขั้นเริ่มต้นของกระบวนการยอมรับเทคโนโลยี  (Mackenzie;  1996)   ถ้าเทคโนโลยีที่เหนือกว่าไม่ใช่เป็นจุดสำคัญให้มีการยอมรับแล้วจะเป็นอะไร  คำตอบของคำถามนี้มีอยู่ในทฤษฎีของกลุ่ม  Instrumentalist
            2.  Adopter based  (Instrumentalist) Theories  หลักการของทฤษฎีที่ยึดผู้ยอมรับเป็นฐานคือการเน้นที่ตัวมนุษย์ และคาวามคาดหวังของมนุษย์ที่มีต่อการเผยแพร่นวัตกรรม  ทฤษฎีนี้มีรากฐานความเชื่อมาจากปรัชญาในกลุ่มของ  Instrumentalism  โดยมองว่าผู้ใช้  (End Users)  หรือบุคคลที่     รับเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีไปสู่การปฏิบัติ  เป็นพลังสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ทฤษฎีนี้

ปฏิเสธสมมุติฐานที่ว่า  ผลผลิตที่ดีกว่า  วิธีการที่ดีกว่า  จะเป็นสิ่งดึงดูดใจโดยทันทีให้กับผู้ที่มี
ศักยภาพพร้อมจะยอมรับและใช้ผลผลิตและวิธีการนั้น
                        Segal  (1996,  p. 2)  กล่าวถึงความสำคัญของทฤษฎีนี้โดยเขาเขียนไว้ว่า  “all structures and machines,  primitive or sophisticated,  exist in a social context and,  unless designed for the sake of design itself,  serve a social function”  ทฤษฎีนี้จะค้นหาความเข้าใจในบริบทของสังคมที่จะรับเอานวัตกรรมไปใช้  Tenner  (1996,  p.  9)  ได้บรรยายไว้ว่า  “ new structure, devices, and organism  react withreal people in real situation in way we wold not forces”  ส่วนสำคัญของทฤษฎีนี้  ได้แก่การทำนายและประเมินปริมาณของปฏิกิริยาของผู้คนในสังคมที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมนั้น
                        ผู้ยึดถือทฤษฎีนี้  (Tessmer;   1990)  แย้งว่า  มีปัจจัยหลายอย่างซึ่งส่วนมากไม่เกี่ยวกับความเหนือกว่าของเทคโนโลยีในการที่จะยอมรับหรือปฏิเสธนวัตกรรมเช่นเดียวกับ  Brukman  (1987)  เป็นนักทฤษฎีในกลุ่มนี้  ได้ยกตัวอย่างแป้นพิมพ์แบบ  QWERTY  และแบบ  Dvorak  ทั้งๆ ที่ผลการวิจัยนี้ชี้ชัดออกมาแล้วว่า  แป้นพิมพ์แบบ  Dvorak  พิมพ์ได้ดีกว่า  เร็วกว่า  แต่อย่างไรก็ตาม  ส่วนมากแล้วนักพิมพ์ดีดทั้งหลายได้เรียนรู้การใช้แป้นพิมพ์แบบ  QWERTY ไปแล้วและใช้อยู่ 
จึงลังเลที่จะใช้แป้นพิมพ์แบบ  Dvorak  ถึงแม้ว่าจะดีกว่าก็ตาม  ในประเทศไทยก็เกิดเรื่องแบบนี้
เช่นกัน  ในการนำเสนอแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติ  ซึ่งพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบเกษมณี  28.6%  แต่ผู้คนนิยมแบบเกษมณีแล้ว  ฉะนั้นมนุษย์เป็นผู้กำหนดและมีบทบาทในการจะรับเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้  ไม่ใช่เพราะความเหนือกว่า  วิเศษกว่าของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้น
                        ตัวอย่างของทฤษฎี  Adopter Based Theories  ในการทำการศึกษาวิจัยทางด้านการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาสามารถพบได้ทั้งในกลุ่มของ  Macro Theories  และ  Micro Theories  และ  Ernest Burkman  (1987)  เป็นคนแรกที่กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าอยู่ในกลุ่ม  Micro  Theories (Product Utilization Theory)  โดยมีพื้นฐานมาจากทรรศนะของกลุ่ม  Instrucmentalists  ที่มีต่อเทคโนโลยีการศึกษาทฤษฎีของ  Burkman  ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาการสอนโดยยึดผู้ใช้เป็นสำคัญ (User-Oriented Instructional  Development หรือ UDIO)  ที่ปฏิเสธความคิดที่ว่าความเหนือกว่าของเทคโนโลยีเป็นเงื่อนไขสำคัญของการยอมรับเอาผลผลิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาไปใช้ในกระบวนการของ  UOID  นั้น  ความเห็น  ความต้องการ  การรู้จักและเข้าใจนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีของผู้ที่มีศักยภาพในการรับนั้น  ถูกมองว่าเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิดการยอมรับขึ้น

            การพัฒนาการสอนโดยยึดผู้ใช้เป็นสำคัญตามแบบ  UOID  ของ  Burkman  ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน  ดังนี้
                        1.  ขั้นบ่งชี้หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการยอมรับ
                        2.  ขั้นวัดการรับรู้  รับทราบเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ยอมรับ
                        3.  ขั้นออกแบบและพัฒนาผลผลิตที่ผู้ใช้จะใช้ได้อย่างง่ายและสะดวก
                        4.  ขั้นแจ้งให้ผู้ที่จะรับผลผลิตไปใช้ทราบว่า  ผลผลิตนั้นใช้ได้ง่ายและสะดวก
                        5.  ขั้นให้บริการหลังจากที่ผู้รับได้ยอมรับและนำไปใช้แล้ว
            UOID  ของ  Burkman  เป็นตัวแทนของกลุ่มปรัชญา  Instrumentalist  เพราะว่า  UOID  ให้ความสำคัญกับผู้ใช้และถือว่าคนหรือผู้ใช้เป็นพลังสำคัญ  ในการที่จะทำให้เกิดการยอมรับและนำ
ผลผลิตไปใช้  แต่ไม่เน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้างการทำงาน  จึงอยู่ในกลุ่ม Micro Theories หรือระดับจุลภาพ
            ส่วนในกลุ่มของ  Macro Theories  นั้น  Concerns Based Adoption Model (CBAM)  หรือรูปแบบการยอมรับโดยฐานของความเกี่ยวพันที่พัฒนาขึ้นโดย  Hall and Hord  (1987)  เป็นตัวอย่างของกลุ่ม  Macro Theories  ซึ่งมีฐานความคิดในแนวของ  Instrumentalist  มากกว่าจะเป็น  Determinist  ทั้ง Hall  และ  Hord  ได้บรรยายถึงกระบวนการที่ทำให้ผู้ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงนั้นจากมุมมองของคนที่จะได้รับผลอันเกิดจกการเปลี่ยนแปลง ความคิดของ  CBAM  นั้นเป็นการปรับโครงสร้างอย่างเป็นระบบ โดยการทำความเข้าใจสังคม  การเมืองและความคาดหวังของบุคลากรในโรงเรียน  (Condition of Essential Schools)  และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากข้างสู่
ข้างบน  (Bottom Up)  เป็นตัวอย่างของการยอมรับวัตกรรมตามของ Systemic Change Theories  (Mehlinger;  1995)  จึงอยู่ในกลุ่ม  Macro Theorieh  หรือระดับภาค  เมื่อได้ทำการวิเคราะห์และ
สังเคราะห์ทฤษฎีการเผยแพร่ที่นำไปใช้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษานั้น  จะพบว่ามีหลากหลายวิธี  ทั้งวิธีการที่ยุงยาก  ซับซ้อนและวิธีการที่ง่าย  และชัดเจน นอกจากนั้นยังพบว่า  จุดมุ่งหมายของการเผยแพร่นั้น  มีทั้งต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและโครสร้างในระดับมหาภาค  และมีทั้งให้เกิดการยอมรับและนำผลผลิตทางด้านเทคโนโลยีไปใช้เท่านั้น  ซึ่งเป็นระดับจุลภาค  อีกทั้งทฤษฎีการเผยแพร่ยังมีรากฐานความคิดมาจากปรัชญาของกลุ่ม  Determinist  และ  Instrumentalist  แสดงตัวอย่างของทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในการทำให้เกิดผลงานต่าง ๆ ใน 4 ด้านด้วยกัน
คุณลักษณะของผู้ยอมรับการเผยแพร่
            ในการเผยแพร่นวัตกรรมสู่ประชากรกลุ่มหนึ่ง  แม้ว่าในที่สุดทุก ๆ คนในกลุ่มนั้น
จะยอมรับนวัตกรรมนั้นทั้งหมดก็ตาม  แต่ถ้าพิจารณาดูระยะเวลาของการยอมรับนวัตกรรมแล้ว
จะพบว่าทุก ๆ คนไม่ได้ยอมรับนวัตกรรมด้วยระยะเวลาเดียวกันหมด  มีความแตกต่างกันออกไป
ซึ่งถ้าจะลองจัดกลุ่มประชากรเหล่านี้ออกเป็นกลุ่ม ๆ  ตามลักษณะเวลาการยอมรับนวัตกรรมแล้ว
จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม  ดังนี้
            1.  กลุ่มนวัตกร  (Innovators)  ประชากรกลุ่มนี้มีลักษณะที่เด่นชัด  คือ  มีลักษณะของความเป็นผู้ที่ชอบการเสี่ยง  ชอบทดลองของใหม่ ๆ  ทำให้ประชาชนในกลุ่มนี้แตกต่างไปจากประชากรอื่น ๆ ในสังคมเดียวกันและดูเป็นคน  “แปลก”  ในสังคมนั้น  การที่จะเป็นนวัตกรได้นั้นต้องมีคุณสมบัติบางอย่างที่สนับสนุนอยู่  ซึ่งในคุณสมบัติเหล่านี้จะพบว่าการเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมีความสำคัญมากประการหนึ่ง  เพราะนวัตกรจะไม่รู้สึกเดือดร้อนที่จะทดลองใช้นวัตกรรมและไม่รู้สึกอะไร  ถ้านวัตกรรมที่ทดลองใช้ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
            2.  กลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น  (Early Adopters)  พวกที่รวมอยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่มีลักษณะและคุณสมบัติที่คล้ายกับประชากรอื่น ๆ ในสังคมมากกว่าคนในกลุ่มนวัตกร จากงานวิจัยและการศึกษาลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น  พบว่า  พวกนี้เป็นพวกที่มีฐานะทางสังคมค่อนข้างสูง  เป็นผู้นำทางความคิดในสังคมนั้น  ประชากรในกลุ่มอื่น ๆ  จะสังเกตพฤติกรรมท่าทีของพวกกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่นและใช้เป็นแนวทางในการยอมรับหรือปฏิเสธนวัตกรรม  ตัวกลางการเผยแพร่นวัตกรรมจะยึดประชากรกลุ่มนี้เป็นพวกแรกที่จะทำความคุ้นเคยด้วยและพยายามชักจูงให้ประชากรในกลุ่มนี้ยอมรับนวัตกรรม  ทั้งนี้เพราะถ้าสามารถยึดประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่นเป็นพวกได้แล้ว  การเผยแพร่นวัตกรรมไปยังกลุ่มประชากรที่เหลือก็จะง่ายขึ้น
            3.  กลุ่มชนส่วนใหญ่ที่ยอมรับนวัตกรรมระยะต้น  (Early majority)  พวกนี้จะตกลงใจยอมรับนวัตกรรมก่อนหน้าคนทั่ว ๆ ไปเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  ประชากรในกลุ่มนี้จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก  แต่ไม่ได้อยู่ในฐานะทางสังคมที่สูงเหมือนพวกแรก  ลักษณะพิเศษของกลุ่มนี้ คือ  จะยอมรับนวัตกรรมช้ากว่ากลุ่มที่ 2 แต่จะเร็วกว่ากลุ่มอื่น ๆ ที่จริงแล้วประชากรในกลุ่มที่สามนี้เริ่มใช้นวัตกรรมบ้างแล้วและเห็นคล้อยตามบ้างแล้ว  แต่ไม่ยอมรับอย่างแน่ชัดมั่นใจลงไปว่าจะยอมรับนวัตกรรมนั้นอย่างแท้จริง
            4.  กลุ่มชนส่วนใหญ่ที่ยอมรับนวัตกรรมระยะหลัง  (Late Majority)  คนในกลุ่มที่สี่นี้
จะตกลงใจยอมรับนวัตกรรมช้ากว่าคนทั่ว ๆ ไปเล็กน้อย และที่ยอมรับก็เพราะเกิดแรงผลักดันจากสังคมให้รับนวัตกรรมนั้น ๆ การตกลงใจยอมรับนวัตกรรมของคนกลุ่มนี้จะเต็มไปด้วยความไม่วางใจ มีความระแวดระวังและเกิดหลังจากที่ได้เป็นตัวอย่างการใช้จากสมาชิกกลุ่มอื่น ๆ แล้ว
            5.  พวกล้าหลัง  (Laggards)  พวกนี้จะเป็นพวกกลุ่มสุดท้ายที่จะยอมรับนวัตกรรม  ลักษณะพิเศษที่มองเห็นได้ชัดสำหรับคนในกลุ่มนี้  คือ  จะเป็นพวกที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมดั้งเดิมและค่อนข้างจะอยู่ตัดขาดจากโลกภายนอก  คนในกลุ่มนี้จะสนใจแต่เรื่องในอดีต พยายามดำเนินรอยตามสิ่งที่เคยประพฤติปฏิบัติกันมาแต่ก่อน  ถ้าพวกล้าหลังนี้จะใช้นวัตกรรม ก็หมายความว่า  นวัตกรรมนั้นได้ใช้กันมานานพอสมควร  จนกลายเป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของคนในสังคมแล้ว
            นอกจากลักษณะของผู้ยอมรับการเผยแพร่นวัตกรรมที่กล่าวตามกลุ่มต่าง ๆ ทั้ง 5 กลุ่มแล้ว ก็ยังสามารถกล่าวถึง  ลักษณะของผู้ยอมรับการเผยแพร่ตามตัวแปรทางฐานะทางเศรษฐกิจทางสังคม (Socio-Economics)  ความสัมพันธ์กับชุมชน  (Commu-Nication)  และบุคลิกลักษณะส่วนตัว (Personality)  ซึ่งที่จะนำมากล่าวต่อไปนี้
            ลักษณะทางสังคม : สรุปได้ดังนี้
                        1.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) ไม่มีความแตกต่างในเรื่องอายุจากประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        2.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีระดับการศึกษา
สูงกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        3.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) สามารถอ่านออก
เขียนได้ดีกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        4.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีฐานะทางสังคม
สูงกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        5.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีลู่ทางผลักดันตัวเองขึ้นไปสู่ฐานะทางสังคมที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        6.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) เป็นพวกที่มีหัวการค้ามากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)

            ลักษณะความสัมพันธ์กับชุมชน : สรุปได้ดังนี้
                        1.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางสังคมมากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        2.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีความสัมพันธ์กับสมาชิกอื่น ๆ ในสังคมมากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        3.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มองโลกกว้างไกลกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        4.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตัวกลางการเผยแพร่มากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        5.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีความคุ้นเคยกับ
การสื่อสารนานาชนิดมากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        6.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) เสาะแสวงหารายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรมมากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        7.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง นวัตกรรมดีกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        8.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) เป็นผู้ที่มีความคิด
ทันสมัยกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)

            ลักษณะบุคลิกส่วนตัว : สรุปได้ดังนี้
                        1.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) เป็นผู้ที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับของดั้งเดิม เท่ากับประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        2.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) สามารถมองเห็นภาพในจินตนาการและมองทะลุเหตุการณ์ที่คลุมเครือ  สับสนได้ดีกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        3.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        4.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) มีทัศนคติที่ดีต่อ
ความคิดทางวิทยาศาสตร์มากกว่าประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)
                        5.  ประชากรกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมก่อนผู้อื่น (Early adopters) ไม่เชื่อโชคลางการกำหนดโชคชะตาของไสยศาสตร์เท่ากับประชากรในกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมหลังผู้อื่น (Later  adopters)

5.ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s Taxonomy)
Bloom เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน และได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
1.1ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
1.2ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
1.3การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
1.4การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน
1.5การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้
2. จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้
2. การตอบสนอง
3. การเกิดค่านิยม4. การจัดระบบ
5. บุคลิกภาพ
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้
2.กระทำตามแบบ
3.การหาความถูกต้อง
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
6.ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ ( Gagne) คือ
ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)
เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูด
สายตา ความอยกรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่า
บทเรียนเกี่ยวกับอะไร
กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถ
ทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับ
แนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟฟิก
หรือ เสียง วิดีโอ
การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
การฝึกปฎิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง
เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
การนำไปใช้กับงานที่ทำ ในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น